ลมประจำเส้นสิบ กับการเกิดโรคเเละอาการต่างๆ
1.เส้นอิทา ลมประจำเส้นคือ
1.1 ลมจันทะกาลา อาการคือ ปวดหัวมาก ตามืดมัว ชัก ปากเบี้ยว เสียวหน้าตา เจ็บสันหลัง เกิดเพื่อกำเดาเเละลมระคนกัน ให้ตัวร้อนเเละกลับเย็น มักจับวันพฤหัสตอนเย็น-กลางคืน
1.2 ลมปะกัง อาการคือ ตัวร้อน วิงเวียน ปวดหัวมาก
1.3 ลมพหิ อาการคือ เซื่องซึม สลบ คล้ายถูกงูกัด
1.4 ลมสัตตวาต อาการคือ ให้มือสั่น ตีนสั่น เพราะบริโภคอาหารวันละ 4-5 เวลา
เส้นอิทาผิดปกติเกิดโทษ: จะมีอาการดังต่อไปนี้ อาการคือ ปวดศีรษะเป็นอย่างมาก ตามืดมัว ชัก ปากเบี้ยว เจ็บสันหลัง เกิดเพื่อกำเดาเเละลมระคนกัน เกิดโทษสอง (ทุวันโทษ) มีอาการเรียกลมปะกัง จะทำให้ตัวร้อนวิงเวียนหน้าตา บางครั้งเป็นสันนิบาต เป็นไข้ปวดศีรษะมากถ้าไม่รักษา 7 วันตาย บางครั้งท้องมีอาการเรียกว่าลมพะหิ ลักษณะเหมือนงูทับทามาขบ ทำให้เชื่อมมึน สลบ จะเห็นได้ว่าโทษของเส้นอิทา ค่อนข้างร้ายแรง มาก ถึงตายได้เรียกว่า " ลมจันทร์ " ทำให้เป็นไข้ตัวร้อนเเละกลับเย็น มักจับวันพฤหัส ตอนเย็น-กลางคืน
แนวเส้นอิทา น่าจะเป็นเส้นเลือดและเส้นประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ส่วนหนึ่งไปเลี้ยงรอบ ๆ อวัยวะเพศ ส่วนหนึ่งไปเลี้ยงขา
วิธีแก้ : ให้นวดตามแนวเส้นอิทาแล้วปรุงยาประกอบด้วย และบางรั้งอาจมีพิธีกรรมหรือการประกอบยาเป็นพิศษ ซึ่งจะต้องศึกษาให้ลึกซึ้งต่อไป
2.เส้นปิงคลา ลมประจำเส้นคือ ลมสูรย์กาลา(สูญทกลา)
2.1 ลมสูรย์กาลา(สูญทกลา)
2.2 ลมปะกัง อาการคือ หน้าตาเเดง ปวดหัวตอนเช้าถึงเที่ยง ปวดหัวมาก ชัก ปากเอียง คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม เจ็บตา น้ำตาไหล มักจับวันพฤหัส ห้ามกินของมันของเย็นเกินไป
2.3 ลมพหิ อาการคือ สลบไม่รู้ตัว ไม่พูดจา คล้ายถูกงูกัด
2.4 รัตนาวาต อาการคือ เมื่อยล้า ขัดทั่วทุกเเห่ง เพราะกินอาหารจำเจ เมื่อจะเป็นให้เเสบไส้พุง อยากอาหารเเละของสดคาว
เส้นปิงคลากำเริบผิดปกติ: มีผลทำให้เกิดโรคต่อไปนี้ หน้าตาแดง เกิดพิษลมประกัง บางครั้งมีอาการชักปากเอียง บางที่เป็นสันนิบาต บางทีเป็นริดสีดวง น้ำมูกไหล คัดจมูก จาม บางครั้งกลายเป็นลมพหิ สิ้นสติ ไม่พูดจาเหมือนถูกงูทับสมิงคลาขบเอา ทำให้สลบไป
วิธีแก้ : นวดตามแนวเส้นปิงคลา นวดตั้งแต่กระหม่อม ตา ไรผม ต้นคอ ตามใบหูบริเวณทัดดอกไม้ และที่กระหม่อม แล้วเลื่อนลงมาที่จุดศูนย์กลาง บริเวณจมูกขวา ถ้าเป็นสันนิบาติลมประกัง นวดระหว่างคิ้วทั้งสอง บริเวณหน้าผาก คลึงไปท้ายผม หลังใต้หู ให้นวดทั้งสองข้างโดยเน้นข้างจมูกทั้งสองข้าง
เส้นปิงคลา คล้ายกับเส้นอิทามาก แตกต่างกันเพียงอยู่คนละข้างของลำตัว บริเวณคอและอก มีโรคและจุดคล้ายคลึงกัน ได้แก่ปวดขมับเกี่ยวกับสะบัก แก้สะบักจม เส้นอิทาแก้ลมดูสะบัก โดยมีจุดนวดเยื้องกันค่อนมาทางกลางตัว เส้นปิงคลามีจุดเกี่ยวกับน้ำนมเหมือนกันและมีโรคหรืออาการ 3 อย่างเช่นกัน ได้แก่ หาวเรอ คัดจมูก หูหนัก อยู่บริเวณกระดูกอกด้านขวา
มีโรคหลายโรคที่เกี่ยวข้องกับธาตุ เช่น แก้เตโชให้ออก และมีคำว่า" กล่อน" ซึ่งแปลว่า เสื่อมชำรุด หลุด ได้แก่ กล่อนลงฝัก คือไส้เลื่อน กล่อนลงแข้ง เป็นอาการของกระดูกกล้ามเนื้อบริเวณแข้ง เข่า ทำให้เมื่อยขบเป็นต้น
จากการเปรียบเที่ยบทางกายวิภาคศาสตร์ เส้นนี้เหมือนเส้นอิทา คืออาจเป็น เส้นเอ็น เส้นเลือด เส้นประสาท การทำงานของประสาทอัตโนมัติและสมองซีกขวา และเมื่อพิจารณาผลของเส้นอิทาและปิงคลา หากพิการและกำเริบแล้ว มีลักษณะ ของอัมพาต ปากเบี้ยว โดยมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงเป็นอาการนำ ซึงหากเป็นด้านขวา เรียกสุริยะกลา ด้านซ้ายเรียกจันทะกลา ลมสุริยะ และลมจันทร์ ซึงมีคำว่าลมปะกังเป็นพิษทั้งเส้นอิทาและปิงคลา รวมทั้งลมขึ้นเบื้องสูง อาการเหล่านี้นาจะมีผลจากเส้นเลือดในสมองแตก ตีบตัน หรือมีการหดตัวเป็นบางครั้ง ปัจจุบันพบว่ามีผลมาจากความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง สำหรับลมประกังปัจจบันนำมาใช้เรียกปวดศีรษะข้างเดียว ซึ่งในที่นี้มิได้กล่าวเช่นนั้น เพราะคำว่าลมประกังตามแผนโบราณมีความหมายมากกว่าปวดศรีษะข้างเดียว (Migrain)
3.เส้นสุมนา (สุสมนา)ลมประจำเส้นคือ
3.1 ลมชิวหาสดมภ์ อาการคือ ลิ้นกระด้างคางเเข็ง เซื่องซึม เจรจามิได้
3.2 ลมดาลตะคุณ(ลมมหาอัศดมภ์) อาการคือ จุกอก เอ็นเป็นลำจับหัวใจ มักจับวันอาทิตย์
3.3 ลมทะกรน อาการคือ ดวงจิตระส่ำระส่าย
3.4 ลมบาทจิตร์ อาการคือ เคลิบเคลิ้ม พูดติดขัด หลงลืม เเน่นอก อาเจียนเป็นลมเปล่า หนาวร้อน ต้องฝืนกินอาหาร จะขย้อนออก
เส้นสุมนาพิการ : มีผลทำให้เกิดอาการดังนี้ พูดไม่ออกเกิดลมเรียกว่าชิวหาสดมภ์ เกิดลิ้นกระด้าง คางแข็ง หนักอกหนักใจ เชื่อมมัวมึนซึม เกิดอาการจุกอก เกิดเอ็นเป็นลำ เรียกว่าลมดาลตะคุณ เส้นสุมนานี้สำคัญมาก โดยเฉพาะถ้าเกิดในวันอาทิตย์มีอันตรายถึงตายได้ ถ้าเกิดดวงจิตรระสำระสาย เรียกลม "ทะกรน" ถ้าเคลิ้มเสียจริต เสียสติ พูดจาเพ้อเจ้อ หลงลืม เรียกว่าลมบาทจิต ลมสุมนาอ่อน ๆจะทำให้เบื่ออาหาร มืออ่อนแรงระทวยใจ ดังนั้นสุมนาน่าจะหมายถึงหัวใจ การเต้นของหัวใจ เส้นเลือดแดงใหญ่ หรือระบบประสาทในระดับสะดือถึงปลายลิ้น นอกจากนี้น่าจะหมายถึงการทำงานของสมอง ประสาท หากผิดปกติจะเกิดโรคจิตโรคประสาท โรคทางสมอง โรคหัวใจ
เส้นสุมนาเป็นเส้นที่ อยู่กลางลำตัวซึ่งมีความสำคมาก หมายถึงบริเวณหัวใจ การทำงานของสมองกลุ่มประสาทต่าง ๆ ที่อยู่กลางตัว
จากการสังเกตลักษณะโรคและอาการเมื่อสุมนากำเริมมีผล 2 ประการคือ หรือทางจิต จิตคลุ้มคลั้ง ละเมอเพ้อพก นอนไม่หลับ ผลอีกประการ เกี่ยวกับการทำงานของลิ้นเป็นสำคัญ เช่นลิ้นไม่รู้รสขมปาก หวานปาก ลิ้นกระด้างคางแข็ง ลิ้นหดแยกมิออก สำหรับอาการสุมนากำเริบเรียกว่าลม ดาลตะคุณ มีอาการจุกอก อาการร้ายแรงอาจตายได้ อาการนี้อาจอธิบายได้ว่าเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้นอย่างไรก็ตาม การอธิบาย ทางหลักการแพทย์แผนปัจจุบัน ยังไม่สามารถอธิบายได้ว่าการนวดจุดเหล่านี้จะเกี่ยวข้องอย่างไรกับอาการดังกล่าวแต่แพทย์แผนปัจจุบันได้ใช้จุดของเส้นสุมนากระตุ้นหัวใจ เมื่อผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น ซึ่งควรมีการศึกษาต่อไป
วิธีแก้ : การนวดให้นวดตามแนวเส้นเส้นสุมนา โดยนวดอย่างแผ่วเบา อย่าออกแรงมาก และอย่าใช้เวลานวดนาน เมื่ออาการดีขึ้นแล้วให้วางยา ควรวางยาด้วยยารสหอม รสขม กลิ่นหอมสุขุมไม่ควรรสเย็นหรือร้อนกล้า
4.เส้นกาลทารี (ฆานทารี) ลมประจำเส้นคือ
4.1 ไม่ระบุชื่อลม อาการคือ เหน็บชาทั้งตัว เจ็บเย็นสะท้าน เพราะกินอาหารเเสลง ได้เเก่ ขนมจีน ข้าวเหนียว ถั่ว มักจับวันอาทิตย์เเละวันจันทร์
เส้นกาลทารีกำเริบ: มีผลทำให้เกิดโรคและอาการดังนี้ มีอาการเย็นชาไปทั้งตัว ให้จับเย็น หนาวสะท้าน สาเหตุจากการกินอาหารผิดสำแดง หรือของแสลง เช่น " ขนมจีน ข้าวเหนียว ถั่ว " บางครั้งเกิดอาการสันนิบาต บางครั้งเกิดลมเรียกว่า สหัสรังสี (ลมสรรนิบาต)คือหมดสติไม่รู้ตัว
เส้นกาลทารี น่าจะไกล้เคียงกับระบบเส้นเลือด และระบบประสาทที่ไปเลี้ยงบริเวณแขน ขา ท้อง อาการที่พบบ่อยมักได้แก่ แขน ขา เอว
วิธีแก้ : นวดตามแนวเส้นกาลทารี แล้วใช้ยาแก้ปัถวีธาตุมากิน เพื่อบรรเทาเบาบาง กาลทารี
5.เส้นสหัสรังษี (หัสรังษี) (หัสฤดี) ลมประจำเส้นคือ
5.1 ลมอัคนิวาตคุณ(ลมจักขุนิวาต) อาการคือ เจ็บกระบอกตา วิงเวียน ตาพร่า ลืมตา ไม่ได้เพราะกินของมันของหวาน มักจับวันศุกร์
เส้นสหัสรังษี กำเริบทำให้เกิดโรคและอาการดังนี้: ลมอัคนิวาตคุณ(ลมจักขุนิวาต) อาการคือ เจ็บกระบอกตา วิงเวียน ตาพร่า ลืมตาไม่ได้เพราะกินของมันของหวาน มักจับวันศุกร์
วิธีแก้ : การนวดให้นวดตามแนวเส้นสหัสรังษี
6.เส้นทวารี (ทวาคตา) (ทวารจันทร์) ( ฆานทวารี) ลมประจำเส้นคือ
6.1 ลมทิพจักษุ อาการคือ เจ็บกระบอกตา วิงเวียน ตาพร่า ลืมตาไม่ได้ อาจเป็นทั้ง2 ข้าง หรือข้างขวา ข้างเดียว
6.2 ลมปัตฆาต อาการคือ เกิดจากเส้นทวารีพิการเรื้อรัง บังเกิดเพราะกินน้ำมะพร้าวอันมันหวาน เเละมีกามสังโยควันอังคาร
เส้นทวารีกำเริบทำให้เกิดโรคและอาการดังนี้: ตาลืมไม่ขึ้น วิงเวียน ปวดตามาก ถ้าทุวารีกำเริบ ปวดตาทั้ง 2 ข้างแต่บางครั้งเจ็บที่ตาขวาข้างเดียว เรียกว่าทิพจักษขุขาว ทำให้ตาพร่ามองไม่เห็น ถ้าเส้นนี้เป้นบ่อย ๆ จะเกิดโรคปัตคาด เกิดจากรับประทานน้ำมันมะพร้าวอันหวานจัดบ่อย ๆและมักเกิดในวันอังคาร
วิธีแก้ : ให้นวดท้องก่อน แล้วไล่ไปตามเส้นทุวารี ไปที่ต้นคอทั้ง 2 นวดทั้ง 2 เส้น จะทำให้ตาหายพร่ามัว
7. เส้นจันทภูสัง (อุรัง) ( ภูสำพวัง) (สัมปะสาโส) ( ลาวุสัง) หูซ้ายลมประจำเส้นคือ
7.1 ไม่ระบุชื่อลม เกิดเพราะอาบน้ำมาก ให้วิงเวียน จึงเป็นเเล้ว มักจับวันพุธ
เส้นจันทภูสัง (หูซ้าย) กำเริบหรือพิการ มีผลทำให้เกิดโรคและอาการกับหูเป็นส่วนใหญ่และบริเวณคอ จันทภูสังมักเกิดโรคในวันพุธเกิดจากอาบน้ำมากเกินไป อาการที่เป็นมากคือทำให้มีอาการหูตึง หูอื้อ
เส้นจันทภูสัง เกี่ยวกับหูเป็นส่วนใหญ่ละบริเวณคอ การนวดจุดอื่น ๆ เพิ่มเติม น่าจะเกี่ยวข้องกับระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งมีผลกับต่อมน้ำลาย การเบื่ออาหาร หรือเจริญอาหาร และการนอน
วิธีแก้ : นวดใบหู นวดตามเส้นเส้นจันทภูสัง (หูซ้าย) จะทำให้เรียกชื่ออื้ออึงหายถ้ายังไม่ได้ยินเสียงแสดงว่าเกิด ลมชื่อ ' ทาระกรรณ์" ให้กลับมานวดที่สะเอวด้วย แล้วคลึงตามเส้นขึ้นไปใหม่กับกินยาประกอบกัน
8. เส้นรุชำ หรือ รุทัง (สุขุมอุสะมา) (อุลังกะ) ลมประจำเส้นคือ
8.1 ไม่ระบุชื่อลม เกิดเพราะ กินน้ำมะพร้าวของอันมัน มักให้เจ็บท้องนัก มักจับวันอังคาร บางตำราบอกว่ามักจับวันอาทิตย์ ทำให้หูตึงลมออกจากหู
เส้นรุชำ (หูขวา) กำเริบหรือพิการ มีผลทำให้เกิดโรคและอาการกับหูเป็นส่วนใหญ่และบริเวณคอ จันทภูสังมักเกิดโรคในวันอังคารเกิดจากดื่มน้ำมะพร้าว อาการที่เป็นมาก คืออาการหูตึง ลมออกหู เกิดลมชื่อ" คะพาหุ " ทำให้มีอาการหูตึง
เส้นรุชำ เกี่ยวกับหูเป็นส่วนใหญ่ละบริเวณคอ การนวดจุดอื่น ๆ เพิ่มเติม น่าจะเกี่ยวข้องกับระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งมีผลกับต่อมน้ำลาย การเบื่ออาหาร หรือเจริญอาหาร และการนอน
วิธีแก้ : นวดใบหู นวดตามเส้นเส้นจันทภูสัง (หูซ้าย) จะทำให้เรียกชื่อ อื้ออึงหายถ้ายังไม่ได้ยินเสียงแสดงว่าเกิด ลมชื่อ ' ทาระกรรณ์"ให้กลับมานวดที่สะเอวด้วย แล้วคลึงตามเส้นขึ้นไปใหม่กับกินยาประกอบกัน
9. สุขุมัง (กักขุ่ง) (กุขุง) ลมประจำเส้นคือ
9.1 ไม่ระบุชื่อลม เกิดเพราะกินอาหารโอชะมัน ทำให้ตึงทวาร เจ็บท้อง ราวท้องจะเเตก กินอาหารเเม้น้อยก็คับท้อง ขัดอุจจาระบางทีก็ลงไปเปล่า มักจับวัน
เส้นสุขุมังพิการมีผลทำให้เกิดโรคและอาการดังนี้ : อาการมักเกิดวันอาทิตย์ เป็นผู้ที่กินอาหารมันจัด ทำให้มีอาการตึงบริเวณทวาร เมื่อรับประทานอาหารเพียงเล็กน้อยก็รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง
เส้นสุขุมัง เกี่ยวข้องกับระบบขับถ่ายอุจาระเป็นเส้นบริเวณ ฝีเย็บ ส่วนอาการอื่น ที่อาจจะสืบเนื่องกัน ได้แก่ ประสาทวากัสควบคุมการอาเจียน สะอึก สะอื้น การทำงานของกระบังลม การหอบเหนื่อย สำหรับอาการบวมน่าจะเกี่ยวข้องกับไตหรือหัวใจ
วิธีแก้ : นวดเส้นท้องน้อย โดยกดให้รู้สึกเสียวไปที่ทวาร ทำให้ฝีเย็บถูกเผยออก เกิด การเบ่งอุจาระ การฝึกนวดให้ชำนาญมีกล่าวไว้ในตำรา ต้องให้อาจารย์จับมือกดจึงจะรู้สึกได้
10. เส้นสิกขิณี(สังคินี) (รัตคินี) (สังขิ) ลมประจำเส้นคือ
10.1 กุจฉิสยาวาตา อาการคือ เสียดสีข้างทั้งสอง ขัดเบา ปัสสาวะขุ่น เจ็บหัวเหน่าลงท้อง ท้องขึ้น พะอืดพะอมท้อง ผู้ชายบังเกิดในองคชาติ เป็นเพื่อกามราคะนั้นหน่วงเอ็น ทำให้ปัสสาวะหยดย้อย หนองใน เป็นอุปะทมไส้ด้วน ไส้ลาม ผู้หญิงเป็นเพื่อโลหิตหรือเอ็นในมดลูกพิการ
เรียกว่าลมกามทุจริต เจ็บท้อง สีข้างสะเอว เเล้วเเล่นเข้าไปในท้อง เเล้วลงมารั้งหัวเข่าทั้งสองข้าง
เส้นสิกขิณี กำเริบ มีผลให้เกิดโรคและอาการคือ เสียดสีข้าง ปัสสาวะขุน เจ็บหัวเหน่า เกิดลมเรียก "ราทยักษ์" เกิดจากเอ็นของ
องคชาตร้าวหม่นหมอง เกิดจากน้ำกามถูกกั้นไว้ไม่ตกออกเวลากำหนัด หรือน้ำกามก่อโทษ เกิดมีน้ำหนองไหล(หนองใน) สำหรับสตรีมีอาการ
จากปัญหาของโลหิตเกี่ยวกับมดลูก เกิดเจ็บท้องน้อย เจ็บสีข้างสะเอว
เส้นสิขินี ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบขับถ่ายของเสีย ไต ท่อไต กระเพาะปัสสวะ จุดสำคัญจะอยู่บริเวรท้อง ท้อง
น้อย มีที่อกและขามาก
วิธีแก้ : นวดเส้นที่ขวางเส้นดังกล่าว แก้เอว ตะโพก นวดท้องน้อยให้คลาย แล้วแต่งยาให้รับประทานลมประจำเส้นสิบ กับการเกิดโรคเเละอาการต่างๆ
1.เส้นอิทา ลมประจำเส้นคือ
1.1 ลมจันทะกาลา อาการคือ ปวดหัวมาก ตามืดมัว ชัก ปากเบี้ยว เสียวหน้าตา เจ็บสันหลัง เกิดเพื่อกำเดาเเละลมระคนกัน ให้ตัว
ร้อนเเละกลับเย็น มักจับวันพฤหัสตอนเย็น-กลางคืน
1.2 ลมปะกัง อาการคือ ตัวร้อน วิงเวียน ปวดหัวมาก
1.3 ลมพหิ อาการคือ เซื่องซึม สลบ คล้ายถูกงูกัด
1.4 ลมสัตตวาต อาการคือ ให้มือสั่น ตีนสั่น เพราะบริโภคอาหารวันละ 4-5 เวลา
เส้นอิทาผิดปกติเกิดโทษ: จะมีอาการดังต่อไปนี้ อาการคือ ปวดศีรษะเป็นอย่างมาก ตามืดมัว ชัก ปากเบี้ยว เจ็บสันหลัง เกิดเพื่อกำ
เดาเเละลมระคนกัน เกิดโทษสอง (ทุวันโทษ) มีอาการเรียกลมปะกัง จะทำให้ตัวร้อนวิงเวียนหน้าตา บางครั้งเป็นสันนิบาต เป็นไข้ปวดศีรษะมาก
ถ้าไม่รักษา 7 วันตาย บางครั้งท้องมีอาการเรียกว่าลมพะหิ ลักษณะเหมือนงูทับทามาขบ ทำให้เชื่อมมึน สลบ จะเห็นได้ว่าโทษของเส้นอิทา ค่อน
ข้างร้ายแรง มาก ถึงตายได้เรียกว่า " ลมจันทร์ " ทำให้เป็นไข้ตัวร้อนเเละกลับเย็น มักจับวันพฤหัส ตอนเย็น-กลางคืน
แนวเส้นอิทา น่าจะเป็นเส้นเลือดและเส้นประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ส่วนหนึ่งไปเลี้ยงรอบ ๆ อวัยวะเพศ ส่วนหนึ่ง
ไปเลี้ยงขา
วิธีแก้ : ให้นวดตามแนวเส้นอิทาแล้วปรุงยาประกอบด้วย และบางรั้งอาจมีพิธีกรรมหรือการประกอบยาเป็นพิศษ ซึ่งจะต้องศึกษาให้
ลึกซึ้งต่อไป
2.เส้นปิงคลา ลมประจำเส้นคือ ลมสูรย์กาลา(สูญทกลา)
2.1 ลมสูรย์กาลา(สูญทกลา)
2.2 ลมปะกัง อาการคือ หน้าตาเเดง ปวดหัวตอนเช้าถึงเที่ยง ปวดหัวมาก ชัก ปากเอียง คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม เจ็บตา น้ำตาไหล มัก
จับวันพฤหัส ห้ามกินของมันของเย็นเกินไป
2.3 ลมพหิ อาการคือ สลบไม่รู้ตัว ไม่พูดจา คล้ายถูกงูกัด
2.4 รัตนาวาต อาการคือ เมื่อยล้า ขัดทั่วทุกเเห่ง เพราะกินอาหารจำเจ เมื่อจะเป้นให้เเสบไส้พุง อยากอาหารเเละของสดคาว
เส้นปิงคลากำเริบกำเริบผิดปกติ: มีผลทำให้เกิดโรคต่อไปนี้ หน้าตาแดง เกิดพิษลมประกัง บางครั้งมีอาการชักปากเอียง บางที่เป้
นสันนิบาต บางทีเป้นริดสีดวง น้ำมูกไหล คัดจมูก จาม บางครั้งกลายเป็นลมพหิ สิ้นสติ ไม่พูดจาเหมือนถูกงูทับสมิงคลาขบเอา ทำให้สลบไป
วิธีแก้ : นวดตามแนวเส้นปิงคลา นวดตั้งแต่กระหม่อม ตาไรผม ต้นคอ ตามใบหูบริเวณทัดดอกไม้ และที่กระหม่อม แล้วเลื่อนลง
มาที่จุดศูนย์กลาง บริเวณจมูกขวา ถ้าเป้นสันนิบาติลมประกัง นวดระหว่างคิ้วทั้งสอง บริเวณหน้าผาก คลึงไปท้ายผม หลังใต้หู ให้นวดทั้งสองข้าง
โดยเน้นข้างจมูกทั้งสองข้าง
เส้นปิงคลา คล้ายกับเส้นอิทามาก แตกต่างกันเพียงอยุ่คนละข้างของลำตัว บริเวณคอและอก มีโรคและจุดคล้ายคลึงกัน ได้แก่ปวดขมับ
เกี่ยวกับสะบัก แก้สะบักจม เส้นอิทาแก้ลมดูสะบัก โดยมีจุดนวดเยื้องกันค่อนมาทางกลางตัว เส้นปิงคลามีจุดเกี่ยวกับน้ำนมเหมือนกันและมีโรค
หรืออาการ 3 อย่างเช่นกัน ได้แก่ หาวเรอ คัดจมูก หูหนัก อยู่บริเวณกระดูกอกด้านขวา
มีโรคหลายโรคที่เกี่ยวข้องกับธาตุ เช่น แก้เตโชให้ออก และมีคำว่า" กล่อน" ซึ่งแปลว่า เสื่อมชำรุด หลุด ได้แก่ กล่อนลงฝัก คือไส้เลื่อน
กลอนลงแข้ง เป็นอาการของกระดูกกล้ามเนื้อบริเวณแข้ง เข่า ทำให้เมื่อยขบเป็นต้น
จากการเปรียบเที่ยบทางกายวิภาคศาสตร์ เนนี้เหมือนเส้นอิทา คืออาจเป็น เส้นเอ็น เส้นเลือด เส้นประสาท การทำงานของประสาท
อัตโนมัติและสมองซีกขวา และเมื่อพิจารณาผลของเส้นอิทาและปิงคลา หากพิการและกำเริบแล้ว มีลักษณะ ของอัมพาต ปากเบี้ยว โดยมี
อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงเป็นอาการนำ ซึงหากเป็นด้านขวา เรียกสุริยะกลา ด้านซ้ายเรียกจันทะกลา ลมสุริยะ และลมจันทร์ ซึงมีคำว่าลม
ปะกังเป็นพิษทั้งเส้นอิทาและปิงคลา รวมทั้งลมขึ้นเบื้องสูง อาการเหล่านี้นาจะมีผลจากเส้นเลือดในสมองแตก ตีบตัน หรือมีการหดตัวเป็นบาง
ครั้ง ปัจจุบันพบว่ามีผลมาจากความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง สำหรับลมประกังปัจจบันนำมาใช้เรียกปวดศีรษะข้างเดียว ซึ่งในที่นี้มิได้กล่าว
เช่นนั้น เพราะคำว่าลมประกังตามแผนโบราณมีความหมายมากกว่าปวดศรีษะข้าเดียว (Migrain)
3.เส้นสุมนา (สุสมนา)ลมประจำเส้นคือ
3.1 ลมชิวหาสดมภ์ อาการคือ ลิ้นกระด้างคางเเข็ง เซื่องซึม เจรจามิได้
3.2 ลมดาลตะคุณ(ลมมหาอัศดมภ์) อาการคือ จุกอก เอ็นเป็นลำจับหัวใจ มักจับวันอาทิตย์
3.3 ลมทะกรน อาการคือ ดวงจิตระส่ำระส่าย
3.4 ลมบาทจิตร์ อาการคือ เคลิบเคลิ้ม พูดติดขัด หลงลืม เเน่นอก อาเจียนเป็นลมเปล่า หนาวร้อน ต้องฝืนกินอาหาร จะขย้อนออก
เส้นสุมนาพิการ : มีผลทำให้เกิดอาการดังนี้ พูดไม่ออกเกิดลมเรียกว่าชิวหาสดมภ์ เกิดลิ้นกระด้าง คางแข็ง หนักอกหนักใจ เชื่อมมัว
มึนซึม เกิดอาการจุกอก เกิดเอ็นเป็นลำ เรียกว่าลมดาลตะคุณ เส้นสุมนานี้สำคัญมาก โดยเฉพาะถ้าเกิดในวันอาทิตย์มีอันตรายถึงตายได้
ถ้าเกิดดวงจิตรระสำระสาย เรียกลม "ทะกรน" ถ้าเคลิ้มเสียจริต เสียสติ พูดจาเพ้อเจ้อ หลงลืม เรียกว่าลมบาทจิต ลมสุมนาอ่อน ๆ
จะทำให้เบื่ออาหาร มืออ่อนแรงระทวยใจ ดังนั้นสุมนาน่าจะหมายถึงหัวใจ การเต้นของหัวใจ เส้นเลือดแดงใหญ่ หรือระบบประสาทในระดับสะ
ดือถึงปลยลิ้น นอกจากนี้น่าจะหมายถึงการทำงานของสมอง ประสาท หากผิดปกติจะเกิดโรคจิตโรคประสาท โรคทางสมอง โรคหัวใจ
เส้นสุมนาเป็นเส้นที่ อยู่กลางลำตัวซึ่งมีความสำคมาก หมายถึงบริเวณหัวใจ การทำงานของสมองกลุ่มประสาทต่าง ๆ ที่อยู่กลางตัว
จากการสังเกตลักษณะโรคและอาการเมื่อสุมนากำเริมมีผล 2 ประการคือ หรือทางจิต จิตคลุ้มคลั้ง ละเมอเพ้อพก นอนไม่หลับ ผลอีกประการ
เกี่ยวกับการทำงานของลิ้นเป็นสำคัญ เช่นลิ้นไม่รู้รสขมปาก หวานปาก ลิ้นกระด้างคางแข็ง ลิ้นหดแยกมิออก สำหรับอาการสุมนากำเริบเรียกว่า
ลม ดาลตะคุณ มีอาการจุกอก อาการร้ายแรงอาจตายได้ อาการนี้อาจอธิบายได้ว่าเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การอธิบาย ทางหลักการแพทย์แผนปัจจุบัน ยังไม่สามารถอธิบายได้ว่าการนวดจุดเหล่านี้จะเกี่ยวข้องอย่างไรกับอาการดังกล่าว
แต่แพทย์แผนปัจจุบันได้ใช้จุดของเส้นสุมนากระตุ้นหัวใจ เมื่อผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น ซึ่งควรมีการศึกษาต่อไป
วิธีแก้ : การนวดให้นวดตามแนวเส้นเส้นสุมนา โดยนวดอย่างแผ่วเบา อย่าออกแรงมาก และอย่าใช้เวลานวดนาน เมื่ออาการดีขึ้นแล้ว
ให้วางยา ควรวางยาด้วยยารสหอม รสขม กลิ่นหอมสุขุมไม่ควรรสเย็นหรือร้อนกล้า
4.เส้นกาลทารี (ฆานทารี) ลมประจำเส้นคือ
4.1 ไม่ระบุชื่อลม อาการคือ เหน็บชาทั้งตัว เจ็บเย็นสะท้าน เพราะกินอาหารเเสลง ได้เเก่ ขนมจีน ข้าวเหนียว ถั่ว มักจับวันอาทิตย์
เเละวันจันทร์
เส้นกาลทารีกำเริบ: มีผลทำให้เกิดโรคและอาการดังนี้ มีอาการเย็นชาไปทั้งตัว ให้จับเย็น หนาวสะท้าน สาเหตุจากการกินอาหารผิด
สำแดง หรือของแสลง เช่น " ขนมจีน ข้าวเหนียว ถั่ว " บางครั้งเกิดอาการสันนิบาต บางครั้งเกิดลมเรียกว่า สหัสรังสี (ลมสรรนิบาต)คือหมดสติไม่รู้ตัว
เส้นกาลทารี น่าจะไกล้เคียงกับระบบเส้นเลือด และระบบประสาทที่ไปเลี้ยงบริเวณแขน ขา ท้อง อาการที่พบบ่อยมักได้แก่ แขน ขา เอว
วิธีแก้ : นวดตามแนวเส้นกาลทารี แล้วใช้ยาแก้ปัถวีธาตุมากิน เพื่อบรรเทาเบาบาง กาลทารี
5.เส้นสหัสรังษี (หัสรังษี) (หัสฤดี) ลมประจำเส้นคือ
5.1 ลมอัคนิวาตคุณ(ลมจักขุนิวาต) อาการคือ เจ็บกระบอกตา วิงเวียน ตาพร่า ลืมตา ไม่ได้เพราะกินของมันของหวาน มักจับวันศุกร์
เส้นสหัสรังษี กำเริบทำให้เกิดโรคและอาการดังนี้: ลมอัคนิวาตคุณ(ลมจักขุนิวาต) อาการคือ เจ็บกระบอกตา วิงเวียน ตาพร่า ลืมตา ไม่ได้เพราะกินของมันของหวาน มักจับวันศุกร์
วิธีแก้ : การนวดให้นวดตามแนวเส้นสหัสรังษี
6.เส้นทวารี (ทวาคตา) (ทวารจันทร์) ( ฆานทวารี) ลมประจำเส้นคือ
6.1 ลมทิพจักษุ อาการคือ เจ็บกระบอกตา วิงเวียน ตาพร่า ลืมตาไม่ได้ อาจเป็นทั้ง2 ข้าง หรือข้างขวา ข้างเดียว
6.2 ลมปัตฆาต อาการคือ เกิดจากเส้นทวารีพิการเรื้อรัง บังเกิดเพราะกินน้ำมะพร้าวอันมันหวาน เเละมีกามสังโยควันอังคาร
เส้นทวารีกำเริบทำให้เกิดโรคและอาการดังนี้: ตาลืมไม่ขึ้น วิงเวียน ปวดตามาก ถ้าทุวารีกำเริบ ปวดตาทั้ง 2 ข้างแต่บางครั้งเจ็บที่ตาขวาข้างเดียว เรียกว่าทิพจักษขุขาว ทำให้ตาพร่ามองไม่เห็น ถ้าเส้นนี้เป้นบ่อย ๆ จะเกิดโรคปัตคาด เกิดจากรับประทานน้ำมะพร้าวอันหวานจัดบ่อย ๆและมักเกิดในวันอังคาร
วิธีแก้ : ให้นวดท้องก่อน แล้วไล่ไปตามเส้นทุวารี ไปที่ต้นคอทั้ง 2 นวดทั้ง 2 เส้น จะทำให้ตาหายพร่ามัว
7. เส้นจันทภูสัง (อุรัง) ( ภูสำพวัง) (สัมปะสาโส) ( ลาวุสัง) หูซ้ายลมประจำเส้นคือ
7.1 ไม่ระบุชื่อลม เกิดเพราะอาบน้ำมาก ให้วิงเวียน จึงเป็นเเล้ว มักจับวันพุธ
เส้นจันทภูสัง (หูซ้าย) กำเริบหรือพิการ มีผลทำให้เกิดโรคและอาการกับหูเป็นส่วนใหญ่และบริเวณคอ จันทภูสังมักเกิดโรคในวันพุธ เกิดจากอาบน้ำมากเกินไป อาการที่เป็นมากคือทำให้มีอาการหูตึง หูอื้อ
เส้นจันทภูสัง เกี่ยวกับหูเป็นส่วนใหญ่ละบริเวณคอ การนวดจุดอื่น ๆ เพิ่มเติม น่าจะเกี่ยวข้องกับระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งมีผลกับต่อมน้ำลาย การเบื่ออาหาร หรือเจริญอาหาร และการนอน
วิธีแก้ : นวดใบหู นวดตามเส้นเส้นจันทภูสัง (หูซ้าย) จะทำให้เรียกชื่ออื้ออึงหายถ้ายังไม่ได้ยินเสียงแสดงว่าเกิด ลมชื่อ ' ทาระกรรณ์" ให้กลับมานวดที่สะเอวด้วย แล้วคลึงตามเส้นขึ้นไปใหม่กับกินยาประกอบกัน
8. เส้นรุชำ หรือ รุทัง (สุขุมอุสะมา) (อุลังกะ) ลมประจำเส้นคือ
8.1 ไม่ระบุชื่อลม เกิดเพราะ กินน้ำมะพร้าวของอันมัน มักให้เจ็บท้องนัก มักจับวันอังคาร บางตำราบอกว่ามักจับวันอาทิตย์ ทำให้หูตึง ลมออกจากหู
เส้นรุชำ (หูขวา) กำเริบหรือพิการ มีผลทำให้เกิดโรคและอาการกับหูเป็นส่วนใหญ่และบริเวณคอ จันทภูสังมักเกิดโรคในวันอังคารเกิดจากดื่มน้ำมะพร้าว อาการที่เป็นมาก คืออาการหูตึง ลมออกหู เกิดลมชื่อ" คะพาหุ " ทำให้มีอาการหูตึง
เส้นรุชำ เกี่ยวกับหูเป็นส่วนใหญ่ละบริเวณคอ การนวดจุดอื่น ๆ เพิ่มเติม น่าจะเกี่ยวข้องกับระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งมีผลกับต่อมน้ำลาย การเบื่ออาหาร หรือเจริญอาหาร และการนอน
วิธีแก้ : นวดใบหู นวดตามเส้นเส้นจันทภูสัง (หูซ้าย) จะทำให้เรียกชื่ออื้ออึงหายถ้ายังไม่ได้ยินเสียงแสดงว่าเกิด ลมชื่อ ' ทาระกรรณ์" ให้กลับมานวดที่สะเอวด้วย แล้วคลึงตามเส้นขึ้นไปใหม่กับกินยาประกอบกัน
9. สุขุมัง (กักขุ่ง) (กุขุง) ลมประจำเส้นคือ
9.1 ไม่ระบุชื่อลม เกิดเพราะกินอาหารโอชะมัน ทำให้ตึงทวาร เจ็บท้อง ราวท้องจะเเตก กินอาหารเเม้น้อยก็คับท้อง ขัดอุจจาระ บางทีก็ลงไปเปล่า มักจับวัน
เส้นสุขุมังพิการมีผลทำให้เกิดโรคและอาการดังนี้ : อาการมักเกิดวันอาทิตย์ เป็นผู้ที่กินอาหารมันจัด ทำให้มีอาการตึงบริเวณทวาร เมื่อรับประทานอาหารเพียงเล็กน้อยก็รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง
เส้นสุขุมัง เกี่ยวข้องกับระบบขับถ่ายอุจาระเป็นเส้นบริเวณ ฝีเย็บ ส่วนอาการอื่น ที่อาจจะสืบเนื่องกัน ได้แก่ประสาทวากัสควบคุมการอาเจียน สะอึก สะอื้น การทำงานของกระบังลม การหอบเหนื่อย สำหรับอาการบวมน่าจะเกี่ยวข้องกับไตหรือหัวใจ
วิธีแก้ : นวดเส้นท้องน้อย โดยกดให้รู้สึกเสียวไปที่ทวาร ทำให้ฝีเย็บถูกเผยออก เกิด การเบ่งอุจาระ การฝึกนวดให้ชำนาญมีกล่าวไว้ในตำรา ต้องให้อาจารย์จับมือกดจึงจะรู้สึกได้
10. เส้นสิกขิณี(สังคินี) (รัตคินี) (สังขิ) ลมประจำเส้นคือ
10.1 กุจฉิสยาวาตา อาการคือ เสียดสีข้างทั้งสอง ขัดเบา ปัสสาวะขุ่น เจ็บหัวเหน่าลงท้อง ท้องขึ้น พะอืดพะอมท้อง ผู้ชายบังเกิดในองคชาติ เป็นเพื่อกามราคะนั้นหน่วงเอ็น ทำให้ปัสสาวะหยดย้อย หนองใน เป็นอุปะทมไส้ด้วน ไส้ลาม ผู้หญิงเป้นเพื่อโลหิตหรือเอ็นในมดลูกพิการ เรียกว่าลมกามทุจริต เจ็บท้อง สีข้างสะเอว เเล้วเเล่นเข้าไปในท้อง เเล้วลงมารั้งหัวเข่าทั้งสองข้าง
เส้นสิกขิณี กำเริบ มีผลให้เกิดโรคและอาการคือ เสียดสีข้าง ปัสสาวะขุน เจ็บหัวเหน่า เกิดลมเรียก "ราทยักษ์" เกิดจากเอ็นขององคชาตร้าวหม่นหมอง เกิดจากน้ำกามถูกกั้นไว้ไม่ตกออกเวลากำหนัด หรือน้ำกามก่อโทษ เกิดมีน้ำหนองไหล(หนองใน) สำหรับสตรีมีอาการจากปัญหาของโลหิตเกี่ยวกับมดลูก เกิดเจ็บท้องน้อย เจ็บสีข้างสะเอว
เส้นสิขินี ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบขับถ่ายของเสีย ไต ท่อไต กระเพาะปัสสวะ จุดสำคัญจะอยู่บริเวรท้อง ท้อง น้อย มีที่อกและขามาก
วิธีแก้ : นวดเส้นที่ขวางเส้นดังกล่าว แก้เอว ตะโพก นวดท้องน้อยให้คลาย แล้วแต่งยาให้รับประทาน