ReadyPlanet.com
dot
dot

dot


ข่าวสารสภาการแพทย์แผนไทย
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์
ประชาสัมพันธ์ รู้ทันเรื่องมะเร็ง กับคู่มือวิชาการโรคมะเร็งและผลงานวิชาการ ศูนย์มะเร็งลพบุรี
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
เที่ยวจังหวัดลพบุรี  "เที่ยวเมืองไทย ใกล้กรุงเทพ"
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
helthbe1st.comเฮลธ์บีเฟิร์สท ,จำหน่ายยาแผนปัจจุบัน ,ยาฆ่าพยาธิ,สมุนไพร,ฟ้าทะลายโจร,มะระขี้นก,เพชรสังฆาต,มะรุม,กวาวเครือแดง,กวาวเครือขาว,เห็ดหลินจือแคปซูล,การ์ซีเนีย,เถาเอ็นอ่อน,อาหารเสริม ของMEGA,โอกามิกซ์,หรือวิตามินซีวิสทร้าอะเซโรลาเชอรี


"อังกาบ" ต้อยติ่ง ประโยชน์เลอค่าทั้งต้นใช้เป็นยาขับปัสสาวะ, เบาหวาน, ลดไข้, ยาแก้ปวด ลดการปวด - เสียว, ดับร้อนในกระหายน้ำและใช้ล้างพิษ รวมถึงช่วยเพิ่มความกระชุ่มกระชวยสดชื่นและฟื้นฟูสมรรถนะชายหญิง อย่ามองข้ามว่าเป็นเพียง แค่วัชพืช article

       ต้อยติ่ง   :ชื่ออื่นที่เรียกเช่น อังกาบฝรั่ง, เป๊าะแป๊ะ, minnieroot, popping pod, cracker plant เป็นต้น Ruellia tuberoa L. Acanthaceae  ในราก Minnie สมุนไพรพืชเมืองร้อนกระจายอย่างกว้างขวางในเอเชียตะวันออกเฉียง

   
       

        ชื่อสามัญ : Waterkanon, Watrakanu,Minnieroot, Iron root, Feverroot,Popping pod, Trai-no,Toi ting
       ชื่อวิทยาศาสตร์ :Ruellia tuberosa Linn.
      วงศ์ : Acanthaceae
      ถิ่นกำเนิด : ทั่วไป
       ลักษณะพฤษศาสตร์ :พืชล้มลุกมีอายุยืน ลำต้นสูงประมาณ 25 - 50 ซม. ใบเดี่ยวรูปรีและไข่กลับ การเกาะติดของใบบนกิ่งเป็นคู่สลับ ดอกออกที่ซอกใบบริเวณปลายยอด ดอกสีม่วงน้ำเงิน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 - 5 ซม. ผลเป็นฝัก เมื่อแก่สีน้ำตาลเข้มยาว 2 - 3 ซม. แห้งแล้วแตกเป็น 2 ซีก เมล็ดกลมแบนมีจำนวนมาก
       สรรพคุณด้านสมุนไพร :
       ราก พองเป็นหัวสะสมอาหาร ปลายเรียวแหลมยาว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. ยาวประมาณ 5 - 10 ซม.
       ต้อยติ่ง เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กในวงศ์ Acanthaceae เติบโตได้ดีทั้งกลางแจ้งและในร่ม ต้นเจริญเต็มที่สูง 6 นิ้ว ใบกลมรี ตาแตกยอดได้สี่ข้าง ออกดอกสีม่วงนํ้าเงินเฉพาะตอนฤดูฝน เมื่อผสมเกสรแล้วจะให้ เมล็ด 7-8  เมล็ดอยู่ในฝัก เมื่อฝักแก่จะกลายเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ พอฝักโดนน้ำ (โดยธรรมชาติคือน้ำฝน) ก็จะแตกออกทำให้เมล็ดกระเด็นไปตกที่อื่น ซึ่งเป็นเทคนิคของการขยายพันธุ์ (เด็ก ๆ ชอบเล่นโดยนำฝักแก่ใส่ลงในน้ำให้แตก) 
          มีการใช้ในยาแผนโบราณของสาธารณรัฐซูรินาเม (Republic of Suriname) หรือ ซูรินาเม (Suriname) สุรินัม (Surinam) และ สรานัง (Sranang) เดิมรู้จักกันในชื่อ เนเธอร์แลนด์เกียนา และ ดัตช์เกียนา) ได้ถูกใช้เป็น anthelmintic (ใช้ฆ่าหรือขับพยาธิ) กับการปวดข้อและกล้ามเนื้อตึงตัว; โรคกระเพาะปัสสาวะ ทั้งยังใช้เป็น abortifacient เมล็ด ใช้พอกห้ามเลือด ผื่นคัน

 ในใบมี  คลอโรฟิลล์  ซึ่งมีคุณสมบัติ สร้างเลือดสร้างเซลล์  ดับกลิ่นตัวกลิ่นปาก กลิ่นเท้า ล้างพิษ ต้านการเสื่อมถอย  ชะลอวัย และ apigenin(เป็นสารฟลาโวนอยต์ ที่ชื่อ apigenin  ต้านไวรัสได้ 18 ชนิด ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งรังไข่ได้ 28 เปอร์เซ็นต์ ปกติ จะพบในขึ้นฉ่ายฝรั่ง  พาร์สลีย์ ไวน์แดง ซาคาโมมายล์ และซอสมะเขือเทศ ซึ่งมีสายฟลาโวนอยต์ ที่ชื่อ apigenin (ที่มา
http://comvariety.com/tag/apigenin)
 และในขณะที่เมล็ดต้อยติ่งมี  luteolin ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม flavonoids มีฤทธิ์ต้านภูมิแพ้ (anti-allergy) และต้านการอักเสบ น้ำมัน myristic กรดไมริสติก (Myristic acid) เป็นกรดไขมัน (fatty acid) ชนิดกรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) มีจำนวนคาร์บอนเท่ากับ 14 (C 14: 0)  กรดไมริสติก มีชื่อทางเคมีว่า Tetradecanoic acid ที่มาhttp://www.foodnetworksolution.com/vocab/word/1646
          สารสำคัญกรดลอริค  (Lauris acid) ซึ่งเป็นสารตัวเดียวกับที่พบในน้ำนมแม่   เป็นกรดไขมันสายปานกลาง  (medium chain faity acid)  ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย   มีแร่ธาตุและสารอาหารในปริมาณสูง    ที่ให้ความชุ่มชื้นและช่วยต้านอนุมูลอิสระ   ช่วยต่อต้านเชื้อไวรัส  เชื้อแบคทีเรีย  และเชื้อโปรโตซัว  รวมทั้งมีคุณสมบัติในการเสริมสุขภาพและความงาม )และมีกรด caprilล กรดคาปริคที่มีอยู่ ในเมล็ดต้อยติ่ง ก็ช่วยเสริมประสิทธิภาพของกรดลอริค
          กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fat) คือ ไขมันที่เป็นไขมันเต็มตัว คือ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนจับกันเป็นลูกโซ่โดย สมบูรณ์ และไม่มีช่องว่างเหลือที่จะทำปฏิกิริยากับสารใด ๆ ในร่างกาย พบมากในพวกไขมันสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว และไขมันจากกะทิ มะพร้าว เนย และไข่แดงกรดไขมันส่วนมากมีจำนวน C อะตอม C12 - C18 ชนิดที่มีจำนวน C อะตอมน้อยกว่า 12 ได้แก่ กรดบิวทาโนอิก C3H7COOH ที่พบในเนย กรดไขมันไม่ละลายน้ำ กรดไขมันจะมีจุดเดือดและจุด หลอมเหลวสูงขึ้นตามจำนวนคาร์บอนอะตอมที่เพิ่มขึ้น และกรดไขมันอิ่มตัวมีจุดเดือดสูงกว่า กรดไขมันไม่อิ่มตัว ที่มีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกัน ถ้าเป็นกรดไขมันอิ่มตัวมาก จะเป็นไขมัน เช่น กรดลอริก (C12) กรดไมริสติก (C14) กรดปาล์มิติก (C16) กรดสเตียริก (C18)
         กรดไขมันอิ่มตัว คือกรดไขมันที่ไม่มีพันธะคู่ (double bond) หรือ หมู่ฟังก์ชัน (functional group) อื่นๆ ตามสายโซ่เลย คำว่าอิ่มตัวหมายถึง ไฮโดรเจนในที่ซึ่งคาร์บอน (ที่เป็นส่วนของคาร์บอกซิลิก แอซิด-COOHกรุ๊ป) มีไฮโดรเจนเกาะอยู่มากที่สุดที่จะเป็นไปได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือที่ปลายโอเมก้าจะมี 3 ไฮโดรเจน (CH3-) และแต่ละคาร์บอนในสายโซ่จะมี 2 ไฮโดรเจน (-CH2-)
        [ตัวอย่างกรดไขมันอิ่มตัว]
         •กรดบิวทิริก: CH3(CH2)2COOH
        •กรดลอริก (dodecanoic acid) : CH3(CH2)10COOH
        •กรดไมริสติก (tetradecanoic acid) : CH3(CH2)12COOH
        •กรดปาลมิติก (hexadecanoic acid) : CH3(CH2)14COOH
         •กรดสเตียริก (octadecanoic acid) : CH3(CH2)16COOH
         •กรดอะราชิดิก (eicosanoic acid) : CH3(CH2)18COOH
          Pharmacognostic และการศึกษาพฤกษเคมีเบื้องต้นเกี่ยวกับ Ruellia tuberosa L. (ทั้งต้น) 
          ส่วนใบของต้อยติ่งสามารถใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ หรือใช้พอกแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ แต่ต้อยติ่งมักจะถูกถอนทิ้งเพราะคนคิดว่าเป็นวัชพืช
          รากถูกนำมาใช้กับโรคไตและโรคไอกรน  ล้างพิษในเลือด (Infusion)ที่ใช้สำหรับการทำความสะอาดเลือดหรือแม้แต่เป็นยาขับเลือด ถ้าใช้ในปริมาณที่เจือจางก็สามารถกำจัด สารพิษในเลือด  ทำให้อาเจียน ใช้ดับพิษ และการบรรเทาอาการสารพิษตกค้างในปัสสาวะ
          การใช้ในยาพื้นบ้าน ทั้งต้นใช้เป็นยาขับปัสสาวะ, เบาหวาน, ลดไข้, ยาแก้ปวด  ลดการปวด - เสียว, ดับร้อนในกระหายน้ำและใช้ล้างพิษ (antidotal )
          ในประเทศไต้หวันพบว่า มีการใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องดื่มสมุนไพรแต่ไม่มีรายงาน pharmacognostic เกี่ยวกับพืชชนิดนี้
              ในประเทศไทย ปรากฏมีการใช้อยู๋ใน ตำราโอสถพระนารายณ์ ฉบับแผนโบราณ ของสมเด็จพระบรมวงศเธอ กรมพระยาปวเรศวริยากรณ์ในสารบานยาเตรตต่าง ๆ เล่ม ๕ เวชศาสตร์ วัณ์ณนา
              หน้า  ๙๕๑ ยาแก้ อุปทม  ขนานหนึ่ง  เอา ขิง ๓ ส่วน ใบอังกาบ ใบเสนียด สิ่งละ ๔  ต้มกินแก้อุปทม หายดีแล 
              หน้า ๙๕๓   ยาแก้มุตกิจขนานหนึ่ง เอาแห้วหมู ลำพัน เทียนดำ เปราะ รากมะตูม หว้านนางคำ หว้านสากเหล็ก ต้นอังกาบ โกฏพุงปลา ดีปลี ลูกเอ็น ยางงิ้ว การะบูน สารส้ม เสมอภาคทำเป็นจุณ ละลายน้ำผึ้งกิน แก้มุตกิต หายดีแล
ตำรายา ศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ  พ.ศ. ๒๓๗๔  ฉบับสมบูรณ์
             ศาลา ๗ เสา ๖ แผ่น ๑ (หน้า๕๒)
ปุนะจะปะรัง ลำดับนี้จะกล่าวด้วยนัยหนึ่งใหม่ว่าด้วยลักษณะสันนิบาตอันบังเกิดเพื่อเสมหะสมุฏฐานเป็นคำรบ ๕ นั้นเมื่อเกิดแก่ผู้ใดก็ดี ให้จับเป็นเพลาให้คอแห้งถึงทรวงอก ให้ปากแห้งให้ฟันแห้ง ให้ลิ้นเปื่อยแตกระแหง ให้สะบัดร้อนสะท้านหนาว  ให้เมื่อยทั้งตัว ให้บริโภคอาหารไม่ได้ ให้แน่นคอเป็นกำลัง ให้น้ำตาไหล ถ้าลักษณะเป็นดังกล่าวมานี้
            - ฯลฯ
           ขนาน ๑ เอา สะค้าน, ขิงแห้ง, ดีปลี, เจตมูลเพลิง,รากช้าพลู แก่นพรม,รางปุงแก, ปุเจ้าปุงกุย,รากอังกาบ, พิษนาศน์, รากดีหมีต้น, ยาข้าวเย็น,รากก้างปลาแดง, พญารากขาว, นมแมวน้อย,รากกคุคะ, เถามวกทั้ง ๒  เอาเสมอภาค ทำเป็นจุณบดทำแท่งไว้ละลายน้ำมะขามป้อมต้มแทรกพิมเสนให้กิน อันบังเกิดเพื่อเสมหะสมุฏฐานโรคนั้นหายดีนัก ฯ
          จารึกซึ่งรื้อจากศาลา ต่าง ๆ (หน้า๗๑)
          ปุนะจะปะรัง ลำดับนี้จะกล่าวด้วยนัยหนึ่งใหม่ว่าด้วยลักษณะโลหิตทุจริตโทษ  ๕ ประการสืบต่อไป คือโลหิตระดูร้างโลหิตคลอดบุตร โลหิตต้องพิฆาต ทุบตีโบยโลหิตเน่า โลหิตตกหมกช้ำเป็น ๕ ประการด้วยกัน อันบังเกิดแก่สตรีภาพทั้งหลายอันมีสามีแล้วดังไว้ดังนี้
ลำดับนี้จะกล่าวแต่โลหิตทุจริตโทษ คือระดูร้างนั้นก่อนเมื่อเป็นปฐมเมื่อจะบังเกิดนั้นระดูมิได้มาต้องตามเคย บางทีดำ บางที่เหม็นเน่าโขง บางทีจางดุจน้ำชานหมาก บางทีใสดุจน้ำคาวปลา บางทีดุจน้ำวาวข้าว และกระทาให้เวทนาต่าง ๆ ครั้นแก่เข้ามักกลายเป็นมานโลหิต ฯ
         - ฯลฯ
          ขนาน ๑ เอา เทียนทั้ง ๕ โกฐหัวบัว ,โกฐเขมา ,โกฐพุงปลา,กระวาน,กานพลู,สิ่งละ ๒ ส่วน เปลือกกุ่มทั้ง ๒ รากระหุงแดง, ลำพัน, ไพล,   ขมิ้นอ้อย, รากพันงูแดง, รากอังกาบ, สมอไทย ,สมอพิเภก, ผลผักชี, ไคร้หอม,ผลราชพฤกษ์,รากผักโหมหีน เปลือกโลด, ว่านเปราะ,ผลช้าพลู ,ขิงแห้ง,เจตมูลเพลิง ,ดีปลี,สะคร้าน สิอ่งละ ๔ ส่วน  ทำเป็นจุณบดทำแท่งไว้ละลายละลายกระสายอันควรแก่โรค แทรกชะมดพิมเสน กิน แก้โลหิตระดูร้างกระทำพิษนั้นหายดีนัก ฯ
          ศาลา ๗ ฝาผนัง  (หน้า ๘๐ - ๘๑ )
          ปุนะจะปะรัง ลำดับนี้จะกล่าวด้วยนัยหนึ่งใหม่ว่าด้วยลักษณะทุราวะสา ๑๒ ประการ ประเมหะ ๒๐ ประการดังนี้    คือน้ำปัสสาวะ ๔   ,มุตคาต ๔  ,มุตกิต ๔  เป็น ๑๒  ประการดังนี้  อนึ่งประเมหะ ๒๐ นั้นคือ สันฑฆาต ๔ ,องคสูตร ๔ ,อุปทังสโรค ๔  ,ช้ำรั่ว ๔ ,ใส้ด้วน ๔ , เป็น ๒๐ ประการ เข้ากันเป็น ๓๒ ประการด้วยกัน อันนี้มีอยู่ในคัมภีร์ สาปขันติกาและประเมหะโน้น โดยนัยวิตถาร  ในที่นี้ ยกสงเคราะห์ออกมากล่าวไว้ให้บุคคล ซึ่งจะเรียนรู้ไปเบื้องหน้าพึงแจ้งแต่ละน้อยโดยสังเขป และทุราวสา ๑๒ นี้จะขออาศัยยกความออกมากล่าวแต่น้ำปัสสาวะ ๔ ประการนั้นก่อน เป็นปฐม คือน้ำปัสสาวะขาวดังน้ำซาวข้าวเช็ดประการ ๑ คือน้ำปัสสาวะเหลืองดังขมิ้นประการ ๑ คำน้ำปัสสาวะแดงดังน้ำฝางต้มประการ ๑ คือ น้ำปัสสาวะดำดังนี้ครำประการ ๑ ลักษณะทั้ง ๔ ประการนี้มีอาการดุจกัน กระทำให้ปวดถ่วงหน้าเหน่าให้แสบลำองคชาต ให้สะบัดร้อนสะท้านหนาวเป็นเพลาดังกล่าวมานี้
         - ฯลฯ
          อนึ่งเอาแห้วหมู, เทียนดำ, รากมะตูม,รากเสนียด,ใบสะเดา,รากอังกาบ,ลูกเอ็น,โกฐสอ,
เกลือสินเธาว์, เอาเสมอภาคทำเป็นจุณบดละลายน้ำอ้อยแดงกิน แก้โรคเบาแดงนั้นหายดีนัก ฯ
          จารึกที่รื้อจากศาลาต่าง ๆ (หน้า ๑๔๔ -๑๔๕ )
          สิทธิการิยะ จะกล่าวด้วยลักษณะวัณโรค คือแผลอันเกิดแก่บุคคลทั้งหลาย ตามอาจารย์กล่าวไว้ในคัมภีร์ ไพจิติมหาวงศ์โน้น ว่าจตุธาตุวิปริตเป็นจลณะมิได้บริบูรณ์  จึงเกิดเป้นวิทรทิขึ้นแล้วก็แตกออกเป็นวณะ มีประเภทต่าง ๆ คือเป็นเหตุด้วยอาวุธปืนเป็นต้น ว่าต้องปืน หอก ดาบและเครื่องสรรพวุธทั้งปวงก็ดี คือเป็นเหตุด้วยต้องทุบตี กระทบแตช้ำ เสี้ยนหนามยอกก็ดี ฯ
          คือเป็นเหตุด้วยต้องอสรพิษขบกัด และเขาเขี้ยว เงี้ยงงา เล็บทั้งปวง จึงเป็นแผลออกก็ดี กระทำพิษต่าง ๆ กัน ด้วยอังคมังคานุสารีวาตา และลมกองนี้พัดเอาพิษแล่นไปให้ฟกบวม บางทีให้ชักมือชักเท้ากำมือกำ สมมติว่าบาดทะยักพิษก็ว่า ถ้าจะแก้พิษ ให้ถอยเสียก่อนแล้วจึงใส่น้ำมันนี้ต่อไป
          - ฯลฯ
          ยาน้ำมันทั้งชำระเรียกเนื้อสรรพแผลทั้งปวง เอาใบบวบขม ,ใบชิงช้าชาลี,ใบบอระเพ็ด,ใบตำลึงทั้ง ๒ ,ใบมะระ,ใบต้อยติ่ง,ใบเถาคัน,ใบคันชุนสุนัขบ้า,ใบตะลุ่มนก,ใบหนามแดง,ใบกรดทั้ง ๒ ,ใบพุทรา,ใบสะเดา,ใบระงับ,ขมิ้นอ้อย, คั้นเอาน้ำสิ่งละทะนาน ,น้ำมันมะพร้าว ,น้ำมันปลาสร้อย,น้ำมันงา,สิ่งละทะนาน,หุงให้คงแต่น้ำมัน, แล้วจึงเอาจุณสี ๑ สลึง ชันอ้อย, ชันตะเคียน, สีเสียดเทศ, สีเสียดไทย, สีเสียดจีน,สิ่งละ ๑ บาท ทำเป็นจุณปรุงลงในน้ำมันใส่แผลทั้งกัดทั้งเรียกเนื้อร้ายเร็วดีนัก ฯ
          ศาลา ๔ เสา ๗ แผ่น ๑ (หน้า ๑๙๔,๑๙๙)
          สิทธิการิยะ  จะกล่าวลักษณะกล่อนแห้งอันบังเกิดเพื่อรัตะฆาติเป็นคำรบ ๔ นั้นมีอาการและประเภทกระทำให้เสียดสีข้างและชายโครงให้เมื่อยขบยอกให้มืนตึง ให้เสียวไปทั้งกาย ให้ปวดถ่วงในฝักฝกองค์กำเนิด  ให้ปัสสาวะมิได้โชนดังกล่าวมานี้
         - ฯลฯ
          ขนาน ๑ เอารากลำเจียก รากไทรย้อย  รากอังกาบ รากหญ้าคา รากหญ้าไซ สิ่งละส่วน กระแตไต่ไม้ ๒ ส่วน  สารส้ม ดินประสิวขาว แต่พอรำหัด ต้มตามวิธีให้กินแก้ปัสสาวะให้โนสะดวกหายปวดถ่วงหายดีนัก ฯ
          - ฯลฯ
           สิทธิการิยะ จะกล่าวลักษณะกล่อนน้ำอันบังเกิดเพื่อปัสสาวะแดงเป็นคำรบ 2 นั้นมีอาการกระทำให้ปัสสาวะนั้น บางที่แดงดุจน้ำ ดอกดำ บางที่แดงดุจน้ำฝาง น้ำครั้ง ให้ปวดถ่วงแล้วให้น้ำปัสสาวะ นั้นเป็นมันให้แสบให้ร้อนในปัสสาวะกระทำให้ดับเป็นเพลาอาการดังกล่าวมานี้ฯ (หน้า ๒๐๐ ย่อหน้า ๔ -๕)
          ถ้าจะแก้ เอาแก่นฝาง ครั้ง แก่นขี้เหล็ก รากอังกาบ  สมอทั้ง ๓ มะขามป้อม รากหญ้าคา รากหัวชันกาด กำลังวัวเถลิง เง่ามหาหงส์ เอาเสมอภาค สิ่ง ต้มให้กินตามวิธีให้กินแก้กล่อนน้ำอันบังเกิดเพื่อปัสสาวะแดงนั้นหายดีนัก ฯ
          จากหนังสือคูมือนักทำยา  หมอสุนทร  ทองนพคุณ  (หน้า ๔๐ บรรทัดที่๑ - ๕)
          ยาแก้มุตกิด :แห้วหมู,เทียนดำ ,มะตูมอ่อน,ลำพัน,ว่านเปราะ,ว่านสากเหล็ก,ว่านนางคำ ,โกฐพุงปลา, รากอังกาบ, ผลเอ็น, สารส้ม, ดีปลี.การบูน,ยางงิ้ว,สรรพยาทั้ง ๑๔ สิ่งเสมอภาค ทำเป็นผงละลายน้ำผึ้ง รับประทานแก้มุตกิด,ให้น้ำปัสสาวะเป็นโลหิตช้ำดังปลาเน่า ลางทีเป็นบุพโพจาง ๆ ดังน้ำซาวข้าว  ลางที่เป็นน้ำมูตร ขัดหยด ๆ ย้อย ๆ จะออกมาให้ขัดปวดหัวเหน่า ให้หนักตะโพก ให้แสบอก กินอาหารไม่รู้รส
           จากหนังสือคูมือนักทำยา  หมอสุนทร ฯ    (หน้า ๔๓ บรรทัดที่๙ - ๑๒)
           ยาแก้ปัสสาวะแดงดังน้ำฝางต้ม : หัวแห้วหมู รากมะตูม, รากอังกาบ,โกฐสอ, เทียนดำ ใบสะเดา ,เกลือสินเธาว์,ลูกเอ็น, รวมสรรพยา ๙ สิ่ง  ทำเป็นยาละลายน้ำอ้อยแดง รับประทานแก้โรคปัสสาวะแดงดังน้ำฝางต้ม ให้ปวดหัวเหน่า ให้แสบองคชาต ให่สะบัดร้อนสะบัดหนาว
           จากหนังสือคูมือนักทำยา  หมอสุนทร ฯ   (หน้า ๖๘)
            แก้ปวดฟัน:  รากต้อยติ่งสด ๆ มาตำให้ละเอียด อมแก้ปวดฟัน เป็นรำมะนาด
            จากหนังสือคูมือนักทำยา  หมอสุนทรฯ (หน้า ๑๔๗)
            แก้หญิงขัดระดู อยู่ไฟมิได้"ยาประสะอังกาบ"  ใบผักเป็ดแดง,ใบไผ่, ข่า,ขิง,พริกไท ๖ สิ่ง(เสมอภาค)รากอังกาบ เท่ายาทั้งหลาย  ทำเป็นยาผง ละลายสุรา ,น้ำขิง ,มะนาว  น้ำร้อน รับประทานแก้หญิงขัดระดู อยู่ไฟมิได้ดีนัก
          ในปัจจุบัน กำลังมีการดำเนินการศึกษาด้าน pharmacognostical และการศึกษาพฤกษเคมีเบื้องต้นพร้อมกับ HPTLC,
    ส่วนการวิเคราะห์ Ruellia tuberosa L. อินทรีย์เบื้องต้นพบการปรากฏตัวของสารต่าง ๆเช่น
          1. แทนนิน ( tannin) เป็นสารที่มีโมเลกุลใหญ่และโครงสร้างซับซ้อน มีสถานะเป็นกรดอ่อนรสฝาด เป็นสารให้ความฝาดในพืช พบได้ในพืชหลายชนิด แทนนิน มี 2 ชนิด คือ คอนเดนส์แทนนิน (condensed tannins) หรือเรียกอีกอย่างว่า โปรแอนโทรไซยานิน (proanthrocyanin) พบได้ในส่วนเปลือกต้น และแก่นไม้เป็นส่วนใหญ่ และ สารไฮโดรไลซ์แทนนิน (hydrolysable tannins) คือแบบที่สามารถถูกแยกออกเป็นโมเลกุลเล็กๆ ได้ พบมากในส่วนใบ ฝัก และส่วนที่ปูดออกมาจากปกติ เมื่อต้นไม้ได้รับอันตราย (gall) แทนนิน มีคุณสมบัติตกตะกอนโปรตีน ทำให้หนังสัตว์ไม่เน่าเปื่อย จึงมีการใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนังด้วย แทนนินมีฤทธิ์ฝาดสมาน จึงใช้เป็นยารักษาโรคท้องเสียได้ แทนนินมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้ ตัวอย่างแทนนินได้แก่ theogallin, gallic acid, ellagic acid จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
           2. Flavonoid, ไบโอฟลาโวนอยด์มีหน้าที่ดูดซึมวิตามิน ซี และเสริมฤทธิ์ของวิตามิน ซีให้อยู่ในร่างกายได้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเมื่อใดที่ร่างกายขาดวิตามิน ซี ก็สามารถดึงเอาวิตามิน พี หรือ ไบโอฟลาโวนอยด์ มาใช้ได้เช่นกัน ไบโอฟลาโวนอยด์ ได้ชื่อว่าเป็นสารอาหารที่ใช้รักษาอาการเปราะและแตกง่ายของเส้นเลือด และมีคุณสมบัติในการเสริมสร้างระบบการทำงานของหลอดเลือดและหัวใจ เช่น ทำให้หลอดเลือดแข็งแรงขึ้น ช่วยรักษาหลอดเลือดที่แข็งตัวให้กลับสู่สภาวะปกติ รักษาแผลเรื้อรังจากเบาหวานด้วยการเพิ่มความยืดหยุ่นขอหลอดเลือดให้ระบบสามารถส่งผ่านเลือดไปเลี้ยงบริเวณแผลได้ดีขึ้น ทั้งยังช่วยลดไขมันในเลือดทั้งไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอล    ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และยังมีรายงานทางการแพทย์ว่า ไบโอฟลาโวนอยด์สามารถควบคุมการจับตัวของเกล็ดเลือดที่ก่อให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดเล็กๆ และรวมไปถึงหลอดเลือดดำส่วนลึกที่อยู่ภายในกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ไบโอฟลาโวนอยด์ ยังเป็นที่ยอมรับว่าสามารถคลายกล้ามเนื้อเรียบได้ดีเท่าๆ กับยาคลายกล้ามเนื้อ จึงมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องเนื่องจากการบิดตัวหรือเกร็งตัวของลำไส้ มีอาการที่ดีขึ้น ลดการอักเสบและการบวมของข้อ อาการบวมน้ำ นอกจากนี้ ยังช่วยในการบำบัดอาการหลอดเลือดดำอุดตันและอักเสบ ผื่นแพ้และภูมิแพ้อีกด้วย ยังมีคุณสมบัติที่ดีของไบโอฟลาโวนอยด์อีกมากมาย เช่น ช่วยพิชิตความเครียด ป้องกันโรคหวัด และช่วยในการสมานแผล ฯลฯ โดยจะเห็นได้ว่าไบโอฟลาโวนอยด์ และวิตามิน ซี จะมีคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกันและเอื้อต่อกัน แต่เหตุผลหลักที่ทำให้ผู้ผลิตนิยมใช้วิตามิน ซี ควบคู่กับไบโอฟลาโวนอยด์ (วิตามิน พี) ก็คือการเสริมฤทธิ์ซึ่งกันและกันเพื่อให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นๆ ได้ประสิทธิภาพที่สุดยอด และตอบโจทย์ความต้องการอย่างสูงสุดของผู้บริโภค ที่มาข้อมูล วัสดุศาสตร์ วิทยาศาสตร์
          3.ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol) - เป็นสเตอรอยด์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในพืช Phytosterolไฟโตสเตอโรล.ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลรวม และโคเลสเตอรอลชนิดร้าย ...
          4.โพลีฟีนอล (Pholyphenols) คือสารเคมีมีคุณสมบัติที่ดีต่อสุขภาพคือ ต้านอนุมูลอิสระ ต้าน มะเร็ง ลดระดับของ cholesterol และ triglyceride ในเลือด กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน 
          5.Triterpenoid  เป็นสาร ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง สารที่ออกฤทธิ์ คือ triterpenoid ในสารสกัดที่แตกต่างกันตามลำดับ Triterpenoid saponins มับพบในพืชใบเลี้ยงคู่ เช่นพืชในตระกูล Leguminoceae (ชะเอมเทศ), Araliaceae (โสม) สารในกลุ่ม saponins มีคุณสมบัติ ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก (haemolysis) ดังนั้นจึงเป็นอันตรายอย่างมากเมื่อฉีดสารเหล่านี้เข้าเส้นเลือด
         การศึกษากายภาพพบว่าเถ้ารวมเป็น 13.53%, กรดเถ้าที่ไม่ละลายน้ำเป็น 2.36%, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ค่าสารที่ละลายน้ำได้คือ 7.67%, น้ำค่าสารที่ละลายน้ำได้เป็น 24.78% และยุบตัวจากการอบแห้งที่อุณหภูมิ 105 ? C เป็น 11.29% เหล่านี้อัตลักษณ์ที่เฉพาะเจาะจงจะเป็นประโยชน์ในการระบุและรับรองความถูกต้องของพืชชนิดนี้
           วิธีทำ " น้ำอังกาบ " หรือ " น้ำต้อยติ่ง "

 

 

             
               1.ถอนต้นต้อยติ่งประมาณ หนึ่งกำมือ 6-10 ต้น  หรือดูจากน้ำหนัก ที่ประมาณ 100 กรัม เอาทั้ง 5 พร้อม (ต้น ราก ใบ ดอก ผล)
               2.ล้างน้ำให้สะอาด  หั่นให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1/2-1  นิ้ว  จากนั้นนำไปโขลกหรือบีบ คันปั่น ให้แหลก
               3.ต้มน้ำให้เดือดก่อน  ในหม้อสแตนเลสประมาณ1,500 ซีซี. เมื่อน้ำเดือดแล้ว จากนั้น นำต้นต้อยติ่งที่โขลกแล้ว ใส่ลงในหม้อ ไปเมือ น้ำเดือดใส่ กลีเซอรรีน  2 ซี.ซี.เพื่อละลายสารสำคัญส่วนที่เป็นน้ำมัน (ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใช้) จากนั้นรอให้เดือดอีกครั้ง แล้วยกลงทิ้งให้เย็นอาจน้ำมาแช่ในอ่างน้ำเพื่อให้เย็นลง หลังจากนั้น ก็กรองเอากากต้อยตึ่งออก 
               4.ใส่ น้ำผึ้ง ประมาณ 2 ซ้อนโต๊ะ   หรือไม่ไส่ก็ได้ ตามใจชอบ    แล้วนำใส่ภาชนะตามใจที่ชอบ นำเข้าแช่ในตู้เย็น
เมื่อความเย็นพอดีแล้ว เทใส่แก้วพร้อมดื่ม แรก ๆควร ดื่มสัก 50  -75 ซี.ซี .ก่อน  และแต่ละครั้งละไม่เกิน 1 แก้วหรือดื่มครั้งละไม่เกิน  150 ซีซี. วันละ ไม่เกิน 2 แก้ว

             สรรพคุณ :ทั้งต้นใช้เป็นยาขับปัสสาวะ, เบาหวาน, ลดไข้, ยาแก้ปวด  ลดการปวด - เสียว, ดับร้อนในกระหายน้ำและใช้ล้างพิษ (antidotal ) ในใบมี  คลอโรฟิลล์  ซึ่งมีคุณสมบัติ สร้างเลือดสร้างเซลล์  ดับกลิ่นตัว กลิ่นปาก กลิ่นเท้า ล้างพิษ ต้านการเสื่อมถอย  ชะลอวัย และ apigenin(เป็นสารฟลาโวนอยต์ ที่ชื่อ apigenin  ต้านไวรัสได้ 18 ชนิด ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งรังไข่ได้ 28 เปอร์เซ็นต์            

     
                ผู้ไม่เคยดื่มควรเริ่มทดลองดื่มแต่น้อยเริ่มต้นประมาณ 50 - 75 ซีซี. หรือ 1/2 แก้ว -1 แก้ว  (150 ซี.ซี.ดื่มวันละไม่เกิน 2 แก้ว ไม่เคยดื่มแรก ๆ อาจมีวิกฤติในการล้างพิษบ้าง  เช่น งง เวียน   หรืออาจมีอาการ ใจสั่น เกิดได้ บ้างเล็กน้อย
 ได้       รสของน้ำสมุนไพร ต้อยตึ่งหรืออังกาบ รสดี กว่าน้ำใบบัวบก หรือน้ำใบหญ้านาง หรือน้ำวีทกลาส ยิ่งผสมน้ำผึ้งรสดีน่าดื่มมากที่เดียว ไม่มีกลิ่นเหม็นเขี่ยวแต่อย่างใด   ส่วนผู้ที่มีปัญหา  ด้านสุขภาพประเภทป้อ แปด้านเพศ ทั้งหญิงชาย ก็จะเริ่มใช้งานได้ดีขึ้น   มีความถี  ในการใช้ประโยชน์มากขึ้น ดีแข็งแรงขึ้น (น่าจะออกฤทธิ์ได้เร็ว กว่าเมล็ดหมามุ่ย ที่ทำหน้าที่เพียงเป็นสารสื่อประสาทและฮอร์โมน ที่เรื่องลือด้าน พลังทางเพศ)  และ ราคาแพงเมล็ดละ 6 -10 บาท ในเวลานี้ ) ส่วนผุู้ทีมีปัญหาด้านการงอกเกิน บริเวณเต้านม  ที่เกิดการงอกเกินซ้ำ ประมาณหัวแม่มือ หลังที่ตัดไปแล้วหนึ่งเต้า รับประทานประมาณ 2-4 เดือน โดยการทำบดอัดเป็นแคปซูล

  รับประทานวันละ สามเวลาด้านที่ งอกใหม่ได้ยุบลงจนบัดไม่ปรากฏอาการขึ้นมา อีก  และผุ้รับประทานได้ไปตรวจที่ศูนย์มะเร็ง ปรากฏผลการแจ้งว่าหายดีแล้ว (จากประสพการณ์ของผู้เขียน  เนื่องจากผู้ป่วย ร้องขอให้ช่วยบดสมุนไพรให้รับประทานหน่อย   ในการนี้ ได้รวบรวมผสม รวมกับสมุนไพรอื่น ๆ ที่จำเป็นใช้กันอยู่แล้วร่วม ด้วย โดยเก็บจากสมุนไพรจากสนามฟุตบอลหน้าบ้าน  ฮ่า ๆ  )
            ส่วนผลจากผู้ที่เดยดื่มมาแล้ว   " ขออนุญาตบอกต่อนะครับ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับผู้อื่นบ้าง" สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นกระดูกทับเส้นหรือมีญาติและคนรู้จักที่มีอาการดังนี้ มีอาการปวดหลังช่วงเอว สะโพก ร้าวลงขา สามารถรักษาบรรเทาอาการปวดง่ายๆ ด้วยต้นต้อยติ่ง สิ่งที่เราคิดว่าเป็นวัชพืช
             จากประสบการณ์ที่ผม(ข้อความจาก facebook)ป่วยเป็นกระดูกทับเส้น มีอาการดังกล่าวข้างต้น ผมมีอาการนี้มาประมาณ3-4 ปี ได้รับการแนะนำจาก "น้องน้ำ" น้องสาวคนหนึ่งจากอำเภอแม่สอด แนะนำว่ามีคนที่รู้จักกัน มีอาการเดียวกับผม เค้าต้มต้นต้อยติ่งกับน้ำสะอาด และกรองเอาเฉพาะน้ำมาดื่ม จิบแทนน้ำชา จนอาการดีขึ้นมาก จึงแนะนำให้ผมลองต้มต้นต้อยติ่ง ดื่มบ้าง และผมก็ได้ลองทำตาม โดยใช้ต้นต้อยติ่ง ถอนมาทั้งต้นและราก ประมาณ 1 กำมือ หรือ 5-6 ต้นมาล้างน้ำให้สะอาด และต้มกับน้ำสะอาดประมาณ 2 ขวดเฮลล์บลูบอย (ประมาณ 1.5 ลิตร ทำเหมือนกับต้มน้ำผัก) และกรองเอาเฉพาะน้ำมาดื่ม ปรากฏว่า อาการปวดที่เคยปวดมากก็เบาลงไป สามารถยกขาขึ้นสูงกว่าเดิมได้ การลุกยืน เดิน นั่งทำได้ดีกว่าเดิมมากๆ จนเป็นที่น่าแปลกใจ ว่าสิ่งที่เรามองข้ามและไม่เคยรู้คุณค่าของมันจะช่วยให้การดำเนินชีวิตของผมดีขึ้น จากเดิมที่ผมคิดว่าปวดขนาดนี้คงต้องผ่าตัดแน่ๆ แต่ตอนนี้ผมอาการดีขึ้นแล้วครับ...ผมขอขอบคุณน้องสาวที่แสนใจดี พิมพ์พรรณ ฯ (น้องน้ำ) จากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มากๆนะครับ ถ้าไม่ได้รับคำแนะนำจากน้อง ผมคงต้องให้หมอผ่าตัด เจ็บตัว เสียตังค์แน่ๆเลย "
รวบรวมโดย:นศ.พท.อรรณพ  ผลบุณยรักษ์
อ้างอิง :
              
1. บทความจากB Arirudran, Saraswathy, Vijayalakshmi Krishnamurthy 
               2. บทความจาก
http://www.doa.go.th/
botany/rueltub.html
               3. บทความจาก ไพร มัทธวรัตน์ หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ. นครปฐม
               4. บทความจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
               5. บทความจาก
http://comvariety.com/tag/apigenin
)
               6. บทความจาก
http://www.foodnetworksolution.com/vocab/word/1646

               7. ตำราโอสถพระนารายณ์ ฉบับแผนโบราณ สมเด็จพระบรมวงศเธอ กรมพระยาปวเรศวริยากรณ์ในสารบานยาเตรตต่าง ๆ เล่ม ๕ เวชศาสตร์ วัณ์ณนาหน้า  ๙๕๑ พิมพ์ครั้งแรก  พ.ศ. ๒๔๖๐ , สำนักพิมพ์บุคคอร์นเนอร์ พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๘
               8. ตำรายา ศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
               9. จากหนังสือคู่มือนักทำยา  หมอสุนทร  ทองนพคุณ
              10. ข้อความจาก facebook

รวบรวมโดย พท.ภ อรรณพ  ผลบุณยรักษ์

       




สุขภาพดีได้ด้วยการแพทย์แผนไทย

"บุณยรักษ์ยาไทย " ร้านขายยาแผนโบราณ ร่วมสมัยที่จังหวัดลพบุรี
ข่าวประชาสัมพันธ์ การสืบทอดนวดจับเส้นศาสตร์อาจารย์หวน สังข์พราหมณ์
การดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย article
กิมิชาติ (จุลชีพ) เหล่าสัตว์ต่างๆ ที่อาศัยในร่างกายมนุษย์ ยึดกายเป็นรังแห่งโรคร้ายแรงเรื้อรัง ต้นเหตุของการบันทอนความยืนยาว ของชีวิตมนุษย์
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับตำราพระโอสถพระนารายณ์
การใช้นำมันมะพร้าวในการดูแลสุขภาพ ต้านโรค article
การใช้สาหร่ายสไปรูลินา "สาหร่ายเกลียวทอง" "สาหร่ายเกลียวทองของแมกซ์ไลฟ์ " ในการฟื้นฟูสุขภาพ ต้านโรค article
ทงกัตอาลี ปลาไหลเผื่อกหรือไม้เท้าฤาษีของขวัญ จากสรวงสวรรค์เพื่อ เหล่าชายชาตรีและสตรีเพื่อชะลอชรา กระตุ้นความสดชื่นของบุรุษและสตรีเพศ
การใช้ไมโครเวฟอบแห้งและฆ๋าเซื้อโรคในดินและไข่พยาธิในงานสมุนไพรไทย น่าสนใจฆ่าเชื้อได้ดี article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

healthbe1st.com
Bunyarakyathai , Naresuan Road ,Thalachubsorn ,Aumphurmueng
Lopburi ,15000 ,Thailand
Tel. 08-1627-9986 , โทรสาร.-
Email: annoppb@gmail.com
Website; http://www.healthbe1st.com