ก่อนลงทุนในกิจการใดๆก็ตามไม่ว่าจะเป็นเปิดร้านกาแฟ ร้านซักรีด สำหรับนักลงทุนที่ชาญฉลาดแล้ว คุณคงต้องลงมือทำการบ้านอย่างหนัก สำหรับการเปิดร้านยาให้ประสบความสำเร็จนั้น เราควรจะเตรียมข้อมูล “การเปิดร้านยาอย่างไร ให้รอดตายและร่ำรวย” เป็นการรวบรวมข้อมูลสำหรับเภสัชกร รวมทั้งผู้ที่สนใจในการเปิดร้านยา จะได้ทราบขั้นตอนต่างๆในการเปิดร้านยา ได้เห็นภาพรวมธุรกิจร้านยาในหลายๆ ด้าน ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการค้าปลีก วิชาชีพ จรรยาบรรณและจริยธรรม โดยรวมเนื้อหาตั้งแต่การวิเคราะห์ตลาดและคู่แข่ง การขอใบอนุญาต กลยุทธ์สำคัญๆในการเลือกทำเล งานก่อสร้างร้าน การเลือกสินค้าที่จะมาวางจำหน่ายและแหล่งที่จะซื้อ ไปจนถึงการบริหารคลังสินค้าและศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องเช่น พ.ร.บ.ยา พ.ร.บประกอบโรคศิลปะ ,พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค , พรบ.ความรับผิดต่อสินค้าทีไม่ปลอดภัย,พรบ.ประกันสังคม ,พรบ.หลักปรกันสุขภาพแห่งชาติ, พรบ.สุขภาพแห่งชาติ,พรบ.ควบคุมอาคาร ,ก.ม.ท้องถิ่น จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นเทศบาล ,สาธารณสุขจ้งหวัดฯลฯ อยากเปิดร้านขายยา ต้องทำอย่างไรบ้าง โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
ตอนที่ 1: สิ่งที่คุณต้องรู้ ก่อนตัดสินใจ
เป็นข้อมูลก่อนเริ่มต้น เพื่อให้นักลงทุนได้เตรียมตัวเป็นเสบียงตุนไว้ก่อนตัดสินใจกระโจนสู่โลกธุรกิจร้านขายยาครับ หัวข้อที่ท่านควรรู้ได้แก่ …
1. รู้จักธุรกิจสุขภาพ ยาและเวชภัณฑ์
• ภาพรวมตลาดยาและร้านขายยา
• ภาพรวมการรับบริการทางสาธารณสุขของคนไทยและแนวโน้ม
• แนวโน้มธุรกิจร้านยาและสภาวะการแข่งขัน
• ช่องทางการจัดจำหน่าย
• ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดยา
2. เจาะลึกธุรกิจร้านยา
• ตลาดร้านยา
• กฎหมายและระเบียบบังคับที่เกี่ยวข้องกับร้านขายยาในปัจจุบันและอนาคต
• การแบ่งประเภทร้านยาและจำนวนร้านยา
• สภาวะการแข่งขันและแนวโน้มตลาด
• คู่แข่งขันหลักในตลาดร้านยา Chainstore & Francise vs. Local & International
• Key Success Factors ในการเปิดร้านยาให้ประสบความสำเร็จ
3. Checklist คิดก่อนลงมือทำ
• ปัจจัยการลงทุน
• ผลตอบแทนและความเสี่ยง
• ความพร้อมและคุณสมบัติของผู้ประกอบการ
ต่อไป นี้เป็นภาคปฏิบัติ หลังจากนักลงทุนผู้เชี่ยวชาญอย่างท่านรวมทั้งเภสัชกรทั้งหลายที่ตั้งใจปวารณาตนเองมารับใช้เป็นหนึ่งในคนไทยใจดีที่ใส่ใจในสุขภาพพี่น้องที่เจ็บป่วย โดยมาลงมือเปิดร้านยาแล้วละครับ ภาคนี้มีแต่ของจริงที่ท่านต้องลงมือทำเพื่อผลักดันองค์กรของท่านได้บรรลุตามฝันที่ท่านวางไว้
ภาคปฏิบัติที่เข้มข้น เพื่อลงมือเปิดร้านยาให้ประสบความสำเร็จได้แก่
4. ริเริ่มเตรียมการ (Feasibility Study Your Drugstore)
• ศึกษาทำเลที่ตั้ง
• พฤติกรรมลูกค้าในการเลือกร้านยา
• ใครเป็นลูกค้าของคุณ
• สำรวจและประเมินคู่แข่ง
แบบสำรวจตลาด
แบบประเมินทำเล
แบบสำรวจคู่แข่ง
แบบประเมินทางการเงิน (งบลงทุนเบื้องต้น Initial Investment, งบกำไรขาดทุน, งบประมาณกระแสเงินสด Cash Flow Analysis)
5. การเขียนแผนธุรกิจ Bussines Plane
• วัตถุประสงค์ (ส่วนตัว & ทางการเงิน)
• TOWS
• รูปแบบองค์กรและการเสียภาษี
• กลยุทธการวางแผน
บุคคลากร
สินค้า
บริการ
ระบบการจัดการค้าปลีก POS
แนวทางตั้งราคาให้ได้อยู่รอดและชนะคู่แข่ง
การจัดเตรียมสถานที่
การจัดรายการส่งเสริมการขาย
• แหล่งที่มาของเงินทุน
• แผนสำรองเมื่อปัจจัยทุกอย่างไม่เป็นใจ
6. ลงมือทำงาน
• สร้างร้าน (วางผังร้าน เขียนแบบ เฟอร์นิเจอร์ งานก่อสร้าง หาผู้รับเหมา)
• การจดทะเบียนพาณิชย์
• การขอใบอนุญาตร้านขายยา
• การจัดการบุคลากร (แหล่งรับสมัคร อัตราเงินเดือนมาตรฐาน แหล่งฝึกอบรม)
• แหล่งซื้อยา
• จัดซื้ออุปกรณ์
• แผนการทำงาน (ประจำวัน เดือน ปี)
• ระบบบัญชี การจัดซื้อ สินค้าคงคลัง
• การเสียภาษีอากร (ภาษีโรงเรือน ภาษีป้าย)
• ปัญหาต่างๆที่เกิดบ่อยและแนวทางแก้ไข (การดูแลสินค้าไม่ให้สูญหาย การป้องกันไม่ให้สินค้าหมดอายุ อื่นๆอีกมากมาย)
• Key Performance Indicators for your drugstore
7. ภาคผนวก
• ตัวอย่างแผนธุรกิจ
• มาตรฐานร้านยาสู่ร้านยาคุณภาพ & ประโยชน์ที่จะได้รับจากการเป็นร้านยาคุณภาพ
• รายชื่อยาและสินค้าเสริม
• แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจร้านยา
• แหล่งข้อมูลต่างๆในการทำธุรกิจร้านยา
• ระบบคอมพิวเตอร์จัดการร้านยา
ข้อสำคัญ : หากจะเปิดร้านขายยาก็คงจะต้องมีอาคาร สำหรับเป็นที่ตั้งของร้านอย่างน้อยสักสองห้อง ถ้าไม่มีอาจต้องใช้เงินซื้อหากันใหม่ ถ้าตั้งอยู่ต่างจังหวัดก็คงใช้เงินไม่น้อยกว่า 5-6 ล้านรวมค่ายาเข้าร้าน ก็คงประมาณเงินใกล้เคียงกัน เฮ้อถ้ามีสัก 10 ล้านจะพอไหมแต่คงไม่เป็นไรถ้าคิดจะทำแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ถ้าจะให้ดี ก็คงต้องเตรียมตัวให้พร้อมแล้วค่อยเปิดร้านขายยาเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะยังไม่สายในตลาดนี้
อีกด้านหนึ่ง ที่มองข้ามไม่ได้ คือความ รู้ด้านสมุนไพร เพื่อความหลากหลาย อันเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค เพราะปัจจุบันโรคอุบัติใหม่ หรือโรคอุบัติเก่า หายยาก ด้วยยาแผนปัจจุบัน ทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากมาย สมุนไพรไทย ยังช่วยประหยัดเงินจากค่ายาต่างประประเทศได้ หากท่านต้องการมีความรู้ด้านสมุนไพร เภสัชกรรมไทยรวมถึงและการแพทย์แผนไทยก็สามารถ ค้นหาข้อมูลจากกรมการแพทย์แผนไทยและ การแพทย์ทางเลือก (www.dtam.moph.go.th/index.php ) มหาวิทยาลัยเอกชน หรือมหาวิทยาลัยของรัฐ (ค่าเรียนจนจบหลักสูตรประมาณ 600,000.-บาท เรียนประมาณ 4 ปี )หรือเรียนจากวัดต่าง ๆ รวมถึงผุ้ที่สามารถรับมอบตัวศิษย์ทีมีการเรียนการสอนด้านการแพทย์แผนไทย(เรียนจนจบหลักสูตร ประมาณ 100.000 .-บาท) หรือหาความรู้จากหนังสือ ก็จะทำให้มีความรู้ทางด้านเภสัชกรรมไทยดีขึ้น
อ้างอิง : บทความ เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
รวบรวมเพิ่มเติมโดย :พท.ภ อรรณพ ผลบุณยรักษ์