ReadyPlanet.com
dot
dot

dot


ข่าวสารสภาการแพทย์แผนไทย
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์
ประชาสัมพันธ์ รู้ทันเรื่องมะเร็ง กับคู่มือวิชาการโรคมะเร็งและผลงานวิชาการ ศูนย์มะเร็งลพบุรี
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
เที่ยวจังหวัดลพบุรี  "เที่ยวเมืองไทย ใกล้กรุงเทพ"
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
helthbe1st.comเฮลธ์บีเฟิร์สท ,จำหน่ายยาแผนปัจจุบัน ,ยาฆ่าพยาธิ,สมุนไพร,ฟ้าทะลายโจร,มะระขี้นก,เพชรสังฆาต,มะรุม,กวาวเครือแดง,กวาวเครือขาว,เห็ดหลินจือแคปซูล,การ์ซีเนีย,เถาเอ็นอ่อน,อาหารเสริม ของMEGA,โอกามิกซ์,หรือวิตามินซีวิสทร้าอะเซโรลาเชอรี


เส้นประธานสิบ article
ความหมายของเส้นประธาน
            เส้นประธาน คือ เส้นซึ่งเป็นหลักสำคัญของวิชาการนวดไทย ตามที่บูรพาจารย์ได้ถ่ายทอดสืบต่อกันมา เชื่อกันว่ามีเส้นอยู่ในร่างกายถึง 72,000 เส้น แต่ที่เป็นเส้นประธานแห่งเส้นทั้งปวงมีเพียง 10 เส้นเท่านั้น เส้นประธานเป็นทางเดินของลม ซึ่งเป็นพลังกายในที่หล่อเลี้ยงร่างกายให้ทำงานได้ตามปกติ
ความสำคัญของเส้นประธาน
            เส้นประธานมีความสำคัญต่อการบำบัดรักษาโรคด้วยวิธีการนวดไทย   เพราะเป็นโครงสร้างที่ใช้ในการอธิบายถึงความเป็นปกติสุข และความผิดปกติของร่างกายได้ โดยเฉพาะความผิดปกติซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดขัดหรือกำเริบของลม   จึงสามารถนำมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของความผิดปกตินั้น ว่ามีความสัมพันธ์กับเส้นประธานเส้นใด รวมทั้งสามารถกำหนดวิธีการนวดรักษา ที่สอดคล้องสัมพันธ์กับเส้นประธานนั้นได้อย่างมีหลักการ
โครงสร้างเส้นประธาน
            ถ้าพิจารณาโดยรอบคอบและทดลองปฏิบัติตามตำราแล้ว   เส้นประธานไม่น่าจะหมายถึงหลอดเลือด หรือเอ็นอย่างที่เข้าใจกัน เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับความรู้ทางกายวิภาคสมัยใหม่ พบว่าทางเดินของเส้นประธานที่จะกล่าวถึงต่อไปนั้น ไม่สอดคล้องสัมพันธ์กับทางเดินของหลอดเลือด หรือเส้นเอ็นอย่างตรงตัวเสียทีเดียว และจากากรศึกษาโดยการกดจุดเริ่มต้นของเส้นประธานบริเวณสะดือแล้ว พบว่าเกิดความรู้สึกแล่นไปได้ตามทิศทางที่ระบุไว้ในตำรา   จึงเป็นไปได้ว่าทางเดินของเส้นประธานก็คือ ทิศทางการแล่นของกระแสความรู้สึกที่เกิดจากการกดจุดต่างๆ นั่นเอง
            อาจกล่าวได้ว่าลักษณะโครงสร้างทางกายภาพของเส้นประธาน ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็นโครงสร้างแบบใด และจากการศึกษาโครงสร้างอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายที่สามารถเกิดกระแสความรู้สึกแล่นภายในร่างกาย พบว่า โครงสร้างภายในร่างกาย ที่สามารถทำให้เกิดความรู้สึกแล่นได้นั้น อาจเป็นเส้นประสาท เยื่อหุ้มกระดูก พังผืด เยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ หรือผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีปลายประสาทมาเลี้ยง
            การนวดเป็นการกระตุ้นให้เกิดการตอบสนอง ทางสรีรวิทยาเพื่อเกิดผลในการรักษา จึงอาจเป็นการนวดที่โครงสร้างใดโครงสร้างหนึ่งหรือหลายโครงสร้างผสานกัน โดยประสานเชื่อมต่อผ่านทางปลายประสาทดังกล่าว
            นอกจากนี้เมื่อศึกษาวิวัฒนาการของตัวอ่อนของมนุษย์ พบว่า เนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของตัวอ่อน ได้วิวัฒนาการเติบโตไปเป็นส่วนของผิวหนังและระบบประสาท   การเชื่อมต่อประสานของระบบประสาท จึงมีลักษณะเป็นเครือข่ายร่างแหครอบคลุมทั่วร่างกาย จึงเป็นไปได้ที่จะสันนิษฐานว่าโครงสร้างของเส้นประธาน   ซึ่งสัมพันธ์กับปลายประสาท อาจจะมีโครงสร้างเป็นแบบเครือข่ายร่างแหเช่นเดียวกัน
            อนึ่งการเขียนโครงสร้างของเส้นประธานบนท่ากายวิภาค (Anatomical Position)  ของไทยนั้นจะมีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเอง คือเขียนบนภาพคนยืนย่อเข่า และผายมือไว้ข้างลำตัว ท่ากายวิภาคแบบนี้ หากขาดความเข้าใจที่ถูกต้องจะรู้สึกว่าเป็นท่าที่ดูไม่เรียบร้อย หนังสือรุ่นหลังบางเล่มได้เปลี่ยนการเขียนโครงสร้าง และจุดบนเส้นประธานโดยใช้ท่ากายวิภาคสมัยใหม่ คือท่ายืนตรง ซึ่งอาจไม่ถูกต้อง เป็นการดัดแปลที่อาจทำให้เกิดความเสียหายในทางวิชาการ  หรืออาจทำให้มีความเข้าใจที่ดีก็ได้ เพราะท่ายืนย่อเข่าจะเป็นท่าที่ทำให้มองเห็นเส้นต่างๆ เป็นแนวแถวเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ ไม่บิดเบี้ยวแบบที่ปรากฏในท่ายืนตรง จึงขอตั้งข้อสังเกตให้ปรากฏและขอนำภาพทั้ง 2 แบบมาเปรียบเทียบไว้เพื่อความเข้าใจที่ดี และใช้เที่ยบเคียงประโยชน์ในการศึกษาวิชาการนวดไทย ณ ที่นี้
องค์ประกอบที่สัมพันธ์กับเส้นประธาน
            องค์ประกอบตามทฤษฎีเส้นประธาน มี 3 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ
            1. เส้น ซึ่งมีเส้นประธาน และเส้นแขนงต่างๆ มีทางเดินของเส้นที่แน่นอน
            2. ลม เป็นพลังซึ่งแล่นไปตามเส้น หากลมแล่นไม่ปกติ มีการติดขัด ย่อมก่อโทษทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้
            3. จุด เป็นตำแหน่งบนร่างกายที่มีความสัมพันธ์กับเส้น เมื่อกดหรือกระตุ้นถูกจุด จะเกิดกระแสความรู้สึกแล่นของลมไปตามแนวเส้นได้

ทางเดินของเส้นประธาน
            ทางเดินของเส้นประธาน หมายถึง ทางเดินของพลังลมที่แล่นภายในร่างกายซึ่งสามารถรับรู้ได้ เมื่อกดจุดที่สัมพันธ์กับเส้นประธานนั้นๆ ทางเดินดังกล่าวมีทิศทางที่แน่นอน และมีลักษณะเป็นแนวแถวทอดไปอย่างเป็นระเบียบ

เส้นประธาน จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด
                    
            1. เส้นอิทา   เริ่ม ตั้งแค่ท้องด้านซ้ายพาด มาที่หัวเหน่าแล่นลงไปที่ต้นขา แล้วเลี้ยวไปตามบริเวณหน้าของสันหลังแนบไปกับกระดูก แล้วเลี้ยวตลบมาบริเวณจมูกด้านซ้าย มีลมประจำที่เรียกว่าลมจันทะกะลา
                          
            2. เส้นปิงคลา  มีแนวกำเนิดเหมือนเส้นอิทา แต่กลับข้างกัน โดยเริ่มจากบริเวณท้อง ผ่านหัว เหน่าไปต้นขาขวา  อ้อมไปท้อง แนบแนวกระดูกสันหลังด้านขวาขึ้นไปศรีษะอ้อมวกลงมาจมูกด้านขวามีลมประจำที่เรียกว่า
ลมสูริยะกะลา
 
                                    
           
            
          3. เส้นสุมนา กำเนิดจากตรงกลางท้อง ตรงขึ้นไปถึงขั่วหัวใจ แนบคอหอยจนวรรคตลอด
                                       
           
            4. เส้นกาลทารี จุดกำเนิดตามคัมภีร์โลกนิทานกล่าวว่า เส้นกาลทาลีแล่นออกจากท้องแตกเป็น 4 แขนงโดย สองเส้นผ่านขึ้นไปตามซี่โครงสุดท้ายข้างละเส้น ร้อยขึ้นไปที่สบักในทั้งซ้ายและขวา แล่นขึ้นไปกำด้นต้นคอตลอดเศียร เวียนลงมา ทวนไปบรรจบหลังแขน ทั้งสอง ออกไปที่ข้อมือ แตกเป็น  5 แถว ตามนิ้ว ส่วนอีก 2 เส้น แล่นไปข้างหน้าตามหน้าขา 2 ข้าง วางลงไปหน้าแข้ง หยุดที่ข้อมือแตกออกเป็น 5 แขนง ตามนิ้วเท้าทั้งสองข้าง
 
                                      
            5. เส้นสหัศรังษี  (ตาซ้าย) จากตำราโรคนิทานกล่าวว่า เส้นนี้ออกจากท้องด้านซ้ายแล่นลงไปต้นขาตลอดลงไปฝ่าเท้า แล่นผ่านนิ้วเท้าบริเวณต้นนิ้วทั้ง 5  แล้วย้อนขึ้นมาทางซ้าย แล้วแล่นทอดเต้านมซ้ายเข้าไปชิดแนวคอ ข้างคอ ลอดขากรรไกรในสุด ที่ตาซ้ายเรียก  สหัสรังษี   
     
           
              
            6. เส้นทุวารี   (ตาขวา) เส้นทุวารีหรือเรียกว่า ทะวาคะตา,ทะวารจันทร์ รวมเรียกได้ 3 ชื่อ ส่วนทางเดินของเส้นทุวารี เช่นเดียวกับเส้นสหัสรังษี แตกต่างกันเพียงอยู่ทางด้านขวาของร่างกาย
             
             7. เส้นจันทภูสัง (หูซ้าย) จากตำราโรคนิทาน เส้นจันทภูสัง (โสต)ซ้ายมีชื่อเรียก 3 ชื่อ คือ   "อุรัง"  " ภูสำวัง " และ " สัมปะสาโส"   กำเนิดเส้นคือ แล่นจากท้องขึ้นไปตามราวนมซ้ายไปจรดที่หูซ้าย
         
   
                          
             8. เส้นรุทัง  หรือ  รุชัง  (หูขวา) รุทังมีอีกชื่อหนึ่งว่า" สุขุมอุสะมา" แนวของเส้นเหมือนกับเส้นจันทภูสังแตกต่างกันที่เป็นเส้นซึ่งอยู่ทางซีกขวาของร่างกาย
 
                      
            9. เส้น สิขินี ตามตำราโรคนิทาน เรียกวื่อเส้นสิขินีว่า  " รัตคินี "  หรือ " สังคินี มีจุดกำเนิดจากท้อง ลงไปยังท้องน้อยและอวัยวะเพศ
 
                                     
           10. เส้นสุขุมัง ตามตำราโรคนิทานเรียกว่า "กังขุง"  แล่นจากท้อง กระหวัดรอบทวาร มีหน้าที่บีบรัดให้อุจาระถูกขับถ่ายออกมา
 
                      
              



ข่าวประชาสัมพันธ์เครือข่ายแพทย์แผนไทยจังหวัดลพบุรี

สถาบันหรือสถานพยาบาล ทีสภาการแพทยแผนไทยรับรอง
"ทำไมผู้ที่คิดจะเปิดร้านนวดไทยเพื่อสุขภาพจึงต้องเรียนหลักสูตร ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย(นวดไทย) 372 ชั่วโมง "
มารู้จัก โรงเรียนนวดแผนไทยวัดชีป่าสิตามราม ( Wat Shepasitaram Thai Traditional Massage School )
ศูนย์ศึกษาและส่งเสริมสุขภาพแพทย์แผนไทย จังหวัดลพบุรีเปิดรับสมัครนักศึกษา แพทย์แผนไทย และโรงเรียนนวดแผนไทยวัดชีป่าสิตาราม ลพบุรี article
การฝึกงานของนักศึกษาแพทย์แผนตะวันออก ม.รังสิต ที่ศูนย์ศึกษาและส่งเสริมสุขภาพแพทย์แผนไทยวัดชีป่าสิตาราม จังหวัดลพบุรี article
การเรียนนวดตอกเส้น(Tapping Line or Hammer Massage) article
รากสามสิบ ,สาวร้อยผัว , ผักชีช้าง ,ม้าสามตอน ฯ ,Shatavari,สมุนไพรพันปีของสตรี ที่ถูกลืม คุณค่าของมรดกภูมิปัญญาเหล่าบรรพชน
มฤตยู ที่มาเยือนเงียบ ๆ พยาธิใบไม้ในตับ article
ยาอายุวัฒนะ ทิพย์โอสถของบรรพชน article
ขมิ้น กับประโยชน์ล้ำค่าคู่คนไทยคู่โลก article
มะระขี้นกสูงค่าทางโภชนาการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน article
คุณค่าน่าพิศวงและประโยชน์มากมายของตำลึง article
มะรุมพืชมหัศจรรย์สารพันประโยชน์ article
ความรู้เรื่องฉลากยาและร้านขายรวมทั้งการเปิดร้านขายยา ? article
นวดไทย 25 จุดเพื่อคลายเครียด article
ลมประจำเส้นสิบกับการเกิดโรคและอาการต่างๆ article
กายบริหารเเบบไทย ท่าฤาษีดัดตน เเละประโยชน์ article
ลักษณะการนวดแผนไทย
ประวัติการนวดแผนโบราณ article
ประวัติบรมครูชีวกโกมารภัจจ์ article
ขิงมหาโอสถอันเก่าแก่ที่คนไทยและคนเอเชียโบราณรู้จักดี
หญ้าดอกขาวสมุนไพรมากคุณค่า
น้ำส้มสายชูผสมกับน้ำผึ้ง ประโยชน์มากมาย สำหรับสุขภาพ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

healthbe1st.com
Visitbhesaj , Bonmueng Road ,Thahin ,Aumphurmueng
Lopburi ,15000 ,Thailand
Tel. 08-1627-9986 , โทรสาร.03-668-1504
Email: annoppb@gmail.com
Website; http://www.healthbe1st.com