ReadyPlanet.com
dot
dot

dot


ข่าวสารสภาการแพทย์แผนไทย
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์
ประชาสัมพันธ์ รู้ทันเรื่องมะเร็ง กับคู่มือวิชาการโรคมะเร็งและผลงานวิชาการ ศูนย์มะเร็งลพบุรี
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
เที่ยวจังหวัดลพบุรี  "เที่ยวเมืองไทย ใกล้กรุงเทพ"
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
helthbe1st.comเฮลธ์บีเฟิร์สท ,จำหน่ายยาแผนปัจจุบัน ,ยาฆ่าพยาธิ,สมุนไพร,ฟ้าทะลายโจร,มะระขี้นก,เพชรสังฆาต,มะรุม,กวาวเครือแดง,กวาวเครือขาว,เห็ดหลินจือแคปซูล,การ์ซีเนีย,เถาเอ็นอ่อน,อาหารเสริม ของMEGA,โอกามิกซ์,หรือวิตามินซีวิสทร้าอะเซโรลาเชอรี


Unseen Lopburi ตำนานชมรมสมุนไพร ฯ ลพบุรี

    ประวัติชมรมสมุนไพรลพบุรี      
 วัดชีป่า ฯ เป็นวัดที่เก่าแก่ สร้างในสมัยใดไม่ทราบแน่นนอน ดุจากศิลป รูปทรงก่อสร้างเจดีย์ทรงระฆังแบบอยุธยา  เดิมชื่อวัดชีป่า มาประมาณกว่า  500 ปี มีเรื่องเล่าว่าหลวงพ่อแสง ซึ่งเป้นคนชาวเมืองลพบุรี
นี้เองท่านเป็นพระเถระที่เรืองวิทยาคมเป้นที่เลื่อมใสของประชาชน ได้บูรณะวัดขึ้นมาใหม่ จากเดิม เดิมชื่อวัดชีป่า ต่อมาปรากฏเพิ่มเติมชื่อ สิตาราม  ต่อท้ายขึ้นมา   ภายในบริเวณวัดชีป่าสิตาราม มีสมุนไพร ต่างๆ มากมาย การศึกษาแพทย์แผนโบราณ เริ่มต้นเผยแพร่มาจากวัด
 วิวัฒนาการ การศึกษาและการอบรมแพทย์แผนโบราณ อันเนื่องมาจากในวันจันทร์ที่ 21 กรกฏาคม
2523 เวลา 21.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานโครงการตามพระราชดำริ ส่วนป่าสมุนไพร ไว้ณ ศุนย์กากรศึกษาและพัฒนาเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดเชิงเทรา ดังคำจารึก ตอนหนึ่งว่า " บรรดาสมุนไพร อันมีในพระราช อณาเขต สรรพคุณเป็นยารักษาโรค อย่างวิเศษ แต่โบราณกาล นับวันปริมาณลดลง เป็นลำดับ ประกอบกับขาดผู้อุปถัมภ์ บำรุง และผุ้ศึกษาให้ชัดเจน มิได้รอบรู้ในหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ ให้ต่อเนื่องกัน ดังกาลก่อน สมควรให้ฟื้นฟู กิจการนี้ให้มีคุณประโยชน์แก่พสกนิกรอย่างแท้จริง"
 ดังนั้นเพื่อเป็นการสนองพระราชดำริ ทางวัดชีป่า ฯ จึงได้จัดอบรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ สมุนไพร
ให้กับประชาชนที่สนใจ เพื่อประโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวม พร้อมทั้งบังเกิดผลดีแก่ประเทศชาติอันเป็นการถวายความจงรักภักดีตลอดมา วัดชีป่า ฯ ได้ดำเนินการพัฒนาทางด้านการศึกษาและเผยแพร่สมุนไพร และแพทย์แผนโบราณ ตามลำดับต่อไปนี้
 วันที่ 20 พฤษภาคม 2529 ได้มีการจัดตั้งชมรมสมุนไพรลพบุรี โดยมีพระครูพิพัฒนาภรณ์ เป็นผู้ก่อ
ตั้ง โดยมีข้อบังคับ ชื่อว่าชมรมสมุนไพรลพบุรี วัตถุประสงค์หลักของชมรม ฯ คือการสร้างสวนสมุนไพร สำหรับเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้า ส่งเสริม เผยแพร่การแพทย์แผนไทย รวมถึงการใช้สมุนไพร ในการบำบัดรักษาโรคได้อย่างถูกต้อง ให้กับประชาชน
 ภายในบริเวณวัดชีป่าสิตารามนี้ มีสมุนไพร ทั้งที่เป้นสมุนไพร เถาต้นหัว เง่า เครือ ผักหญ้า และอื่น ๆ

 ดังรายชื่อสมุนไพร ที่เป็นพืชวัตถุดังต่อไปนี้
1.สันพร้านางแอ          2. การเกด        3. มะขามป้อม
4. ขันทองพยาบาท       5. ลำดวน         6. มะเดือชุมพร
7. พิลังกาสา             8. พิกุล           9. จำปี
10. กระบือเจ็ดตัว       11. พญารากดำ  12. จำปา
13. ถอบแถบ           14. กฤษณา      15. กระดังงา
16. บุนนาก            17. พญาช้างดำ   18. สลอดบก
19. แสงจันทร์          20. มะฮอกกานี   21. เข็มขาว
22. ทิ้งถ่อน            23. มะคำไก่      24. ชะมวง
25. คำแสด            26. มะยมหิน      27. กานพูล
28. ชบา              29. ควินิน         30. แก้ว
31. มะนาว            32. แสมสาร       33. คัดเค้า
34. เกาลัก            35. ตาเสือ         36. มะตูม
37. หว้า              38. หูกวาง        39. สลัดใด
40. เพกา             41. ขี้หนอน       42. แจง
43. กันเกรา          44. ตาลโตนด     45. กาสะลอง
46. กุ่มบก            47. ตาลเสี้ยน     48. แกแล
49. คูณ              50. ปรู            51. ทองหลางหนาม 
52. กระโดน          53. กรวย         54. ทองหลางใบมน
55. ไผ่น้ำเต้า         56. ไผ่เหลือง     57. ตะเคียนหนู
58. ไผ่ป่า            59. ไผ่แปลง       60. กระทิง
61. ทองพันชั่ง       62. กระถินไทย    63. ไทรใหญ่
64. ราชดัด          65. ขี้เหล็ก        66. โพธิ์ศรี
67. มะกรัก          68. สะเดา       69. ยาง
70. เปล้าน้อย         71. มะกอกบก    72. ไทรใบเล็ก
73. ใบทอง          74. ใบนาก       75. ใบเงิน
76. สำโรง           77. พิมเสน       78. ช้าพูล
79. ตำแย           80. ตองแตก      81. ลำโพง
82. เปล้าใหญ่        83. มะกอกน้ำ      84. หมัน
85. เปล้าน้ำเงิน       86. ไข่เน่า         87. มะดูกเล็ก
88. เสลา           89. เลี่ยน          90. กะโอม
91. มะขามเทศ       92. มะขาม        93. เกตุม
94. มะยม          95. ขอบชะนาง      96. เจ็ดพระยาช้างสาร
97. กระเบียน        98. ลั่นทม         99. ชุมเห็ดเทศ
100. จันทร์เทศ     101.จันทร์โอ        102. ชุมเห็ดไทย
103. จันทร์แดง     104. ฝิ่นต้น        105. ทั้งทวย
106. สมอภิเภก     107. สารภี         108. สมอร่องแร่ง
109. เทพธาโร      110. ระย่อม        111. ค่าง
112. จามจุรี       113. เจตมูลเพลิง     114. ยอป่า
115. ประดงใหญ่   116. ท้าวยายม่อม     117. มะกา
118. ลำไยป่า      119. กะพี้          120. หัสคุณเทศ
121. หัสคุณไทย    122. กระถินพิมาน    123. สัก
124. หางนกยูง     125. มะรุม         126. สะแก
127. ประดู่        128. มะเกลือ       129. สมอลัด
130. ฟ้าทะลายโจร   130. เหงือกปลาหมอ  131. พญาท้าวเอว
132. ระงับพิษ      133. คนทีสอขาว     134. เขยตาย
135. กระทิง       136. กะปง          137. ลำดวน

ประเภทหัวเหง้า
 1. ว่านน้ำ      2. ว่านหางช้าง  3. ว่านสากเหล็ก
 4.ว่านชักมดลูก   5. ว่านมหาเมฆ 6. หนอนตายหยาก
 7. ไพล        8. กระทือ     9. ข่า
10. ขมิ้นอ้อย   11. ขมิ้นชัน   12. หางจระเข้
13.กาบหอย    14. กระชาย

ประเภทเครือ
1. เถาวัลย์เปรียง    2. เถาวัลย์แดง   3. อบเชยเทศ
4. อบเชยไทย      5. เพชรสังฆาต   6. พริกไทย
7. บรเพ็ด        8. ดีปลี         9. เถาวัลย์เหล็ก
10. มะขามเครือ  11. มะแว้งเครือ  12. ตำลึง
13.บรเพ็ดพุงช้าง  14.เถาเอ็นอ่อน

ประเภทผัก
1. ผักหวานบ้าน      2. ผักเป็ดขาว  3. ผักเป็ดแดง
4. ผักคราดหัวเแหวน  5. ผักบุ้ง      6. ผักหนอก

ประเภทหญ้า
1. ลิ้นหมู        2. ปักกิ่ง       3. ตีนตะขาบ
4. โด่ไม่รู้ล้ม      5. หนวดแมว    6. ขลู่
7. หมากดิบน้ำค้าง  8. แห้วหมู      9. คา
10. ไทร       11. งวงช้าง     12.ปล้อง
13. ปากควาบ   14. แพรก      15.ตีนนก
16. ตีนกา      17. ใต้ใบ      18. ลูกใต้ใบ
19. นาง       20. อ้อยแดง

 




แหล่งท่องเทียว" Unseen Lopburi "ในจังหวัดลพบุรี

Unseen Lopburi ตำนานศูนย์การสมุนไพรแห่งประเทศไทย



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

healthbe1st.com
Visitbhesaj , Bonmueng Road ,Thahin ,Aumphurmueng
Lopburi ,15000 ,Thailand
Tel. 08-1627-9986 , โทรสาร.03-668-1504
Email: annoppb@gmail.com
Website; http://www.healthbe1st.com