ศูนย์การสมุนไพรแห่งประเทศไทย
ใครจะไปนึกถึงว่าจังหวัดลพบุรีจะมีศูนย์การสมุนไพรแห่งประเทศไทย ที่มีสำนักงานตั้งอยู่ที่วัดชีป่าสิตาราม ถนนนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี 15000
ดังคำปรารภของพระครูพิพัฒนาภรณ์ ที่กล่าวว่า สมุนไพรเป็นทรัพยากรตามธรรมชาติที่มีอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งหากเป็นผู้มีความรอบรู้และเห็นคุณค่าแล้ว ก็อาจจะหามาใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ และได้พิจารณาเห็นว่าการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานโครงการตมพระราชดำริสวนป่าสมุนไพรไว้ ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาเขาหินซ้อนอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ก็เนื่องจากพระองค์ได้ทรงมีพระราชปณิธานมั่นในคุณค่าของบรรดาสมุนไพร ดังคำจารึกส่วนป่าสมุนไพร ที่ตำบลเขาหินซ้อนตอนหนึ่งความว่า " บรรดาสมุนไพรอันมีในพระราชอาณาเขต สรรพคุณเป็นยารักษาโรคอย่างวิเศษ มาแต่โบราณ นับวันปริมาณลดน้อยลงเป็นลำดับประกอบกับขาดผู้อุปถัมภ์บำรุงและผู้ศึกษาเล่าเรียนให้ชัดเจน มิได้รอบรู้หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ให้ต่อเนื่องกันดังกาลก่อน สมควรฟื้นฟูกิจการนี้ให้มีคุณประโยชน์แก่พสกนิกรอย่างแท้จริง "
ดังนั้น เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริจึงจัดให้มีการอบรม เผยแพร่ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสมุนไพรแก่ประชาชนผู้สนใจเป็นลำดับมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมและบังเกิดผลดีแก่ประเทศชาติ เป็นการถวายความจงรักภักดีต่อองค์พระประมุขของชาติสืบไป
" ความดีที่ควรคง คือความตรงต่อหน้าที่
ความดีที่เป็นศรี คือเป็นผู้มีคุณธรรม
ทำดีกว่าไม่ทำ ถ้าเราไม่ทำแล้วใครจะทำ "
พระครูพิพัฒนาภรณ์
รองผู้อำนวยการศูนย์การสมุนไพรแห่งประเทศไทย
และดังคำปรารภของพันตำรวจเอก (พิเศษ) อุดม พิบูลย์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการศูนย์การสมุนไพรแห่งประเทศไทย
ชนชาติไทย เป็นชาติที่สืบเชื้อสายสืบเนื่องกันมาช้านาน มีรูปร่างลักษณะ ภาษา นิสัย จิตใจ และวัฒนะธรรม เป็นตัวเองสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน เรียกสั้น ๆ ว่ากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นศูนย์กลางซึ่งประกอบด้วย ภาคเหนือ ภาค อีสาน ภาคตะวันออก ภาคใต้และภาคตะวันตกรวมเป็นประเทศไทย มีประชาชน 53 ล้านคน
เราทุกคนมีประเทศชาติ วัฒนธรรม มีศาสนา มีพระมหากษัตริย์ อยู่ด้วยกันเป็นปึกแผ่นเยาวชนเป็นลูกหลานทีจะรับมรดกจากเรา จึงควรปลูกฝัง นิสัยและจิตใจ ให้เป็นผู้มีความรู้สึกผิดชอบในความมั่นคงของชาติเพื่อให้ชาติไทยอยู่รอด
วันที่ 17 กันยายน 2532 เป็นนิมิตรหมายที่พวกเรามาประชุม สัมมนา สมุนไพรและยาไทยแผนโบราณ ณ วัดชีป่าสิตาราม จังหวัดลพบุรี เพื่อเป็นการสืบทอด เจตนารมณ์ ของบรรพบุรุษ การแพทย์ไทยเดิมมีประสิทธิภาพดี จึงช่วยให้ชาติไทยแข็งแรง สามารถรักษาเอกราชและสร้างความเจริญมาเป็นลำดับ เมื่อสมัยก่อนนี้มีแพทย์แผนไทยโบราณมีความสามารถ และทุกหนทุกแห่งมีหมอไทยรักษาสุขภาพของประชาชน แต่ในปัจจุบันการแพทย์แผนไทยโบราณเสื่อมโทรมมาก หมอที่ดีจะหมดไป หมอเกิดใหม่หาคนเก่งได้ยากเพราะมีการสอนไม่มีมาตรฐาน ถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนี้ตลออดไป ไม่ช้าหมอไทยแผนโบราณจะสูญสิ้น คงเหลือแต่คนจำหน่ายยา ซึ่งเป็นตำรารักษา
วิชาการแพทย์แผนโบราณ เป็นสมบัติของชาติ บรรพบุรุษ ของเราได้ศึกษา กลั่นกรองทะนุบำรุงมานับพันปี ปัจจุบันนี้ ก็ยังช่วยประชาชนได้เป็นจำนวนมาก ถ้าปล่อยให้สูญสิ้น ส่วนนี้ของพลเมือง ก็จะหันหน้าไปหาแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งจะไม่สามารถสนองความต้องการได้แม้อีกนานปี ประชาชนจะได้รับทุกข์ยากยิ่งกว่าที่เป็นอยู่
การแพทย์แผนไทยโบราณใช้วิธีง่าย ๆ ใช้ยาพื้นเมืองและสมุนไพร ความสิ้นเปลืองมีน้อยและเงินค่ายาจะอยู่ในประเทศไทย ถ้าหากฟื้นฟุ ให้ดีก็จะได้ผลทางเศรษฐกิจส่วนบุคคลและส่วนรวม แต่ปัจจุบันนี้ เราจะต้องอาศัยพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เข้าร่วมมือทำการวินิจฉัยด้วย จึงจะเกิดความเชื่อถือและศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งจะต้องแก้ไขระบบการศึกษาและการรักษา เรื่องนี้ไม่อยู่ในขอบข่ายของหน่วยราชการใดและเวลาที่จะรอนั้นไม่มี จึงสมควรอย่างยิ่งที่ภาคเอกชนจะร่วมมือช่วยเหลือเพื่อรักษาสมบัติของชาติไว้ให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและตนเองก่อนที่จะสายเกินแก้
พันตำรวจเอก (พิเศษ) อุดม พิบูลย์สวัสดิ์
ผู้อำนวยการศูนย์การสมุนไพรแห่งประเทศไทย
เรื่อง สมุนไพรในวัด
เรื่องสมุนไพรในวัดนี้ ผู้เขียนจะกล่าวเฉพาะสมุนไพรที่กล่าวไว้เป็นหลักฐานในพระพุธศาสนาเท่านั้น มิได้กล่าวถึงบทบาทของพระภิกษุบางรูปในวัดต่าง ๆ ที่นาเอาสมุนไพรมาประกอบเป็นยาแผนโบราณรักษาประชาชนเลย ท่านผู้อ่านคงทราบดีว่า ในอดีต “ วัด “ เคยเป็นโรงพยาบาลใหญ่มาก ทั้งเป็นมหาวิทยาลัยสอนวิชาทางการแพทย์ด้วย ในปัจจุบันนี้ แม้ในโลกได้วิวัฒนาการมาแล้ ว ก็ตาม “ วัด “ ก็ยังเป็นสถานที่ให้ความรู้เกี่ยวกับวิชาการแพทย์และเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ช่วยรักษาคนไข้ป่วยโรคทางกายและทางวิญญาณไม่น้อย
ก่อนที่จะได้ศึกษาถึงสมุนไพรในวัด ที่กล่าวในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ควรที่ท่านผู้อ่านจะได้ทราบประวัติของนายแพทย์ผู้ยิ่งใหญ่ในพุทธกาล “ ชีวกโกมารภัจจ ” ผู้เชียวชาญทางยาสมุนไพร
ในสมัยพุทธกาลเกือบ 3,000 ปีมาแล้ว ณ เมืองไพศาลี อันเป็นเมืองที่มั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ ธัญญาหาร สิ่งก่อสร้างอันวิจิตรพิสดาร พรั่งพร้อมด้วยปราสาทราชวัง สระโบกขรณีถึง 7,707 อย่าง โดยเฉพาะอุดมพร้อมพรั่งด้วยหญิงงามเมือง จนได้ชื่อว่า “นครโสเภณี”
ในสมัยนั้นใครเป็นหญิงงามเมืองถือว่าเป็นผู้ทรงเกียรติ เพราะเป็นตำแหน่งที่พระราชาทรงแต่งตั้ง โดยคัดเอาสตรีที่มีเรือนร่างสะคราญตาที่สุดมีความสามารถในทางฟ้อนรำ ขับร้องประโคมดนตรี จึงจะมีตำแหน่งเป็นหญิงงามเมืองได้ ผิดกับหญิงโสเภณีสมัยนี้ หน้าตาไม่น่าจะมีราคาแถมยังไม่มีความสามารถอะไรเลย ก็ยังซื้อขายกันได้เป็นร้อยเป็นพันนครโสเภณีสมัยนั้น ได้กลายเป็นแหล่งจรรโลงใจของชายหนุ่ม จากเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะพ่อค้าวาณิชที่มาติดต่อค้าจากแดนไกล ทำให้การค้าขายระหว่างเมืองราชคฤห์กับเมืองไพศาลีเจริญรุ่งเรืองขึ้น
ต่อมาความสำคัญของหญิงโสเภณีได้ระบาดเป็นสมัยนิยมขึ้นที่เมืองราชคฤห์เป็นเมืองที่สอง ซึ่งตรงกับรัชสมัยของ พระเจ้าพิมพิสาร ทรงเห็นชอบด้วยที่จะให้มีหญิงงามเมืองไว้เพื่อดึงดูดใจ โดยเฉพาะดึงดูดเงินจากพ่อค้าวาณิชที่ติดต่อค้าขายระหว่างเมือง
พระเจ้าพิมพิสาร จึงรับสั่งให้คัดเลือกสตรีงามนางหนึ่งขึ้นมาดำรงตำแหน่งนี้ เธอเป็นสาวงามแรกรุ่นดรุณี มีนามว่า “สาลวดี” มีอัตราค่าตัวสูงสำหรับผู้ร่วมภิรมย์แต่ละคืนมีชายหนุ่มมาลุ่มหลงกันมากมายไม่นานนักนางสาลวดีก็ตั้งครรภ์ขึ้น โดยไม่ปรากฏบิดาเด็กในครรภ์ นางจึงงดรับแขก คอยจนครรภ์แก่จึงคลอดบุตรออกมาเป็นชาย ดึกสงัดของคืนที่ทารกจะลืมตาดูโลกโดยไม่มีโอกาสได้เห็นหน้ามารดาอีกเลย เพราะนางได้สั่งให้หญิงรับใช้นำทารกน้อยนั้นใส่กระด้งไปทิ้งไว้ที่กองขยะนอกเมืองเดชะบุญที่พรหมลิขิตขีดเส้นให้เจ้าฟ้าอภัย พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสารเสด็จออกสูดอากาศในยามรุ่งอรุณของวันนั้น มุ่งพระพักตร์มายังกองขยะ เพราะได้ทอดพระเนตรเห็นฝูงแร้งกาต่างบินลงมาที่กองขยะ เมื่อรับสั่งให้ทหารมหาดเล็กไปดู ก็เห็นทารกนอนดิ้นไขว่คว้าหาความอบอุ่นอยู่ในกระด้ง เจ้าฟ้าอภัยเกิดความสงสารจับใจ จึงนำมาชุบเลี้ยงเป็นโอรสบุญธรรมทรงขนานนามว่า “ชีวกโกมารภัจจ์ ซึ่งแปลว่า ผู้ยังมีชีวิต”
เด็กน้อย ชีวกโกมารภัจจ์ เติบโตท่ามกลางลูกเจ้าลูกนายในรั้วในวัง จึงมีความเฉลียวลาดเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ถือแววฉลาด เอาชนะเพื่อนรุ่นเดียวกันไปเสียทุกอย่าง ทำให้เกิดความอิจฉาริษยาในหมู่เพื่อนฝูง เกิดการล้อเลียนถึงชาติตระกูล และดูหมิ่นว่าเป็นเด็กข้างถนน เด็กไม่มีพ่อแม่
คำพูดนี้เองทำให้ ชีวกโกมารภัจจ์ เกิดความมานะ พยายามที่จะหาความรู้ใส่ตัวเพื่อลบล้างปมด้อยต่าง ๆ ให้ได้ แล้ววันนั้นก็มาถึง เขาได้มีโอกาสหนีออกจากวัง เดินทางไปกับพวกพ่อค้าโดยไม้ได้ทูลลาเจ้าชาย ผู้เป็นบิดาบุญธรรม มุ่งหน้าเข้าสู่เมืองตักศิลาอันเป็นแหล่งสรรพวิชาทั่วโลก เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลกที่ให้ความรู้ทุกด้านของชาวภารตะ
ณ เมืองตักศิลา ชีวกโกมารภัจจ์ ขณะนั้นเป็นหนุ่มแล้วได้เข้าไปหาอาจารย์ทิศาปาโมกข์ มอบตัวเป็นศิษย์ขอเรียนวิชาแพทย์ศาสตร์ โดยช่วยทำงานรับใช้อาจารย์สารพัด ตั้งแต่ตักน้ำ ผ่าฟืน บีบนวด หุงหาอาหาร เป็นการตอบแทนค่าสอน 7 ปีให้หลังที่ชีวกโกมารภัจจ์ ที่ถูกแม่โสเภณีนำมาทิ้งกองขยะ ก็แตกฉานในสาขาวิชาแพทย์ศาสตร์อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะแพทย์แผนโบราณที่ใช้ว่านยาสมุนไพรรักษา
การเรียนในสมัยนั้นต้องมีการสอบเพื่อทดสอบความรู้ก่อนเลื่อนชั้นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ จึงใช้ให้หนุ่มน้อยชีวก ไปสำรวจดูต้นไม้ทุกต้นหญ้าทุกชนิด ทั่วทั้งสี่ทิศภายในรัศมี 400 เส้น ให้ดูว่าไม้ชนิดไหนใช้เป็นยาอะไรบ้าง อย่างไหนใช้ไม่ได้เลย แม้แต่ต้นหญ้าก็ให้บอกถึงชนิด และสรรพคุณให้ได้หมดทุกอย่าง
หนุ่มน้อยชีวก ฯ ผู้ชาญฉลาด ได้เดินทางออกจากมหาวิทยาลัยตักกะศิลาขึ้นป่าลุยดงไม้นานาชนิด สำรวจไปทั่วทั้ง 4 ทิศเป็นเวลาทั้งสิ้น 7 วัน จึงกลับออกมาพร้อมกับคำตอบที่ให้กับอาจารย์ว่า“ต้นไม้ใบหญ้า และสมุนไพรใด ๆ ในชมพูทวีปนี้ที่ใช้ทำยาไม่ได้นั้น ไม่มีเลย ทุกอย่างเป็นยาทั้งนั้น ขอรับ”
อาจารย์ยิ้มพร้อม พร้อมกับกล่าวว่า“เอาละ เป็นอันว่าเธอเรียนจบหลักสูตรแล้ว ขอให้นำวิชานี้ไปใช้ประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ที่เจ็บไข้ได้ป่วย จะเป็นกุศลต่อเธอเอง”
คำพูดของหมอหนุ่ม “ชีวก โกมารภัจจ์” “ ที่กล่าวว่าต้นไม้ใบหญ้าทุกต้น และสมุนไพรใด ในชมพูทวีปที่ใช้ทำยาไม่ได้นั้นไม่มีเลย ทุกอย่างเป็นยาทั้งนั้น” เป็นคำตอบ ต่อพระฤาษีโรคา พฤกษตริณณ์ อาจารย์ทิศาปาโมกข์ ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาแพทย์แผนโบราณให้เป็นคนแรก ภายหลังที่ได้ผ่านป่าดงพงพีข้ามถิ่นทุรกันดารคลุกคลีอยู่กับต้นไม้ทุกชนิดบนเทือกเขาสูงชันนานถึง 7 วัน 7 คืน จึงพบความจริงว่า...ต้นไม้ใบหญ้าทุกอย่างเป็นยาทั้งนั้น
ณ เมืองสาเกต แคว้นมหารัฐโกศล อยู่ระหว่างเมืองตักศิลาและเมืองราชคฤห์ หมอหนุ่มร่ำลาอาจารย์ทิศาปาโมกข์ มุ่งหน้าสู่บ้านเกิดเมืองนอนของตน ด้วยปณิธานอันสูง ที่จะใช้วิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมาพัฒนาและช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ผู้ประสบความทุกข์ยากทรมานด้วยโรคร้าย
ภาคปฎิบัติทางการแพทย์ของ หมอชีวกโกมารภัจจ์
คนไข้คนแรกในชีวิตของแพทย์หนุ่มที่ทดสอบความรู้ทางแพทย์แผนโบราณ คือ ภรรยาเศรษฐีแห่งเมืองสาเกต ผู้ป่วยเป็นโรคปวดศรีษะมานานถึง 8 ปี ไม่มีหมอยาคนใดรักษาให้หายได้ สิ้นเปลืองทรัพย์สินในการรักษาไปมากมาย จนภรรยาเศรษฐีท้อแท้อ่อนใจ นอนทุกข์ทรมานรอความตายไปวัน ๆหนึ่ง
หนุ่มน้อย ชีวก โกมารภัจจ์ มุ่งหน้าเข้าสู่บ้านเศรษฐีแห่งเมืองสาเกตตามคำเล่าลือ ด้วยพลังใจอันสูงส่งที่จะช่วยดับทุกข์โศกโรคภัยของมนุษย์เพื่อนร่วมโลกโดยเสนอตัวช่วยเหลือตามที่ได้ร่ำเรียนมา ทั้ง ๆ ที่ยังไม่หายเหนื่อยจากการเดินทางคนรับใช้ไปรายงาน ภรรยาเศรษฐีที่กำลังงุ่นง่านหงุดหงิด ถึงความปรารถนาของท่านชีวกที่จะรักษาให้หายจากโรคปวดศรีษะเรื้อรังให้กับนางภรรยา เศรษฐีถามว่า “หนุ่มหรือแก่ ?” คนรับใช้บอกว่า “หมอหนุ่ม” นางจึงร้องตะหวาดลั่นด้วยความขุ่นเคืองใจ“ไล่มันไป...หนุ่ม ๆ จะมารักษาอะไรได้ ไม่เอาไล่มันไปไว ๆ..รำคาญจะตายแล้ว...หมอแก่มีวิชายังรักษาไม่หาย... คนหนุ่มจะมารักษาฉันได้อย่างไร” คนรับใช้ ก็ออกไปเชิญให้หมอหนุ่มกลับไป ชีวกหนุ่มน้อยผู้เต็มไปด้วยแรงปณิธานที่จะขจัดทุกข์ให้กับมนุษย์ผู้เจ็บป่วย ไม่ละความตั้งใจจึงกล่าวว่า ”การรักษาคราวนี้จะไม่เอาอะไรเลย ถ้ารักษาไม่หาย” คำตอบที่มาจากใจอันสะอาดเปี่ยมไปด้วยความเมตตาของหมอหนุ่ม ทำให้ภรรยาเศรษฐีสนเท่ห์ ยอมให้ชีวกเข้าพบและยอมตกลงรักษา
เขาเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบสมุฏฐานของโรคก่อน พบว่าต้องรักษาด้วยวิธีนัตถุ์ด้วยเนยใสไปเคี่ยวให้แก่ด้วยไฟ จนเปลี่ยนสีเปลี่ยนกลิ่น แล้วผสมเข้ากับว่านยาฉุนชนิดหนึ่ง ให้ภรรยาเศรษฐีนัตถุ์เข้าทางจมูก เพื่อให้ไหลออกทางปาก เพียงครั้งเดียว ปรากฏว่าอาการมึนงง ปวดร้าวกะโหลกศรีษะหายเป็นปลิดทิ้ง โล่ง..ปลอดโปร่ง..เหมือนยกภูเขาออกจากอก!
เพียงครั้งเดียวในการรักษา แบบง่าย ๆ ใช้เวลาไม่กี่นาที แต่ได้ผลเกินความคาดหมาย ภรรยาเศรษฐีดีใจเหมือนได้แก้ว รีบมอบเงินเป็นค่าตอบแทนถึง 4,000 กหาปณะ หรือเท่ากับ 16,000 บาท ลูกสะใภ้ ลูกชายและตัวเศรษฐีให้อีกคนละ 4,000 กหาปณะ รวมทั้ง หมดเป็นเงิน 16,000 กหาปณะลองคูณด้วย 4 จะเป็นเงินไทยเท่าไร
ชีวกโกมารภัจจ์ ร่ำรวย กลายเป็นเศรษฐีไปในบัลดล แถมยังได้ข้าทาสชายหญิง รถม้า และอื่น ๆ อีกมากมายเป็นของกำนัล หมอหนุ่มน้อมรับมาเพื่อไม่เป็นการขัดศรัทธา มุ่งหน้าสู่เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธโดยเร็วเพื่อเฝ้าขออภัยพระบิดาบุญธรรม “อภัยราชกุมาร”
การเข้าเป็นแพทย์ประจำพระราชสำนัก
หมอชีวกโกมารภัจจ์ รวบรวมเงินทองจากการใช้วิชาความรู้ที่ได้เล่าเรียนมาจากอาจารย์ได้มากเพียงพอแก่ความต้องการแล้ว ก็อำลาครอบครัวเศรษฐีและชาวเมืองสาเกต ออกเดินทางไปยังเมืองมาตุภูมิทันที
เมื่อไปถึงเมืองราชคฤห์ เขาได้รีบไปเฝ้าเสด็จพ่อเจ้าฟ้าอภัยราชกุมาร ครั้งแรกทรงมีพระพักตร์บึ้งตึง ที่โอรสบุญธรรมไปไหนมาไม่บอกกล่าว หลังจากหายหน้าไปตั้ง 7 ปี หมอหนุ่มกราบทูลสาเหตุที่ต้องหลบหนีออกจากพระราชวัง ไปศึกษาวิชาแพทย์ที่เมืองตักศิลา จนมีความชำนาญรักษาได้สารพัดโรค แล้วกราบทูลขอขมาโทษที่ทำการครั้งนี้โดยพลการ เสมือนมิรู้บุญคุณข้าวแดงแกงร้อนที่ทรงเมตตาอุปถัมภ์ชุบเลี้ยงมา แล้วนำเงินทองที่เหลือจากที่ใช้จ่ายทั้งหมดมาถวายแด่เสด็จพ่อ“เงินจำนวนนี้หม่อมฉันได้จากการรักษาภรรยาเศรษฐีคนหนึ่งในเมืองสาเกตุ ขอทูลถวายเพื่อเป็นเครื่องบูชาพระเดชพระคุณที่ทรงเมตตาชุบเลี้ยงหม่อมฉัน”
เจ้าฟ้าอภัยราชกุมารทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ทรงแน่พระทัยว่า ที่ “ชีวกโกมารภัจจ์ ” กล่าวมาทั้งหมดเป็นความจริง ทรงชื่นชมในความกตัญญูรู้คุณของโอรสบุญธรรมจึงไม่ทรงรับเงินจำนวนนั้น หากแต่รับสั่งให้เขาเก็บไว้เป็นสมบัติของตนตั้งแต่นั้นมาเขาได้เป็นนายแพทย์คนโปรดประจำพระองค์เจ้าฟ้าอภัยอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย พร้อมกับจัดสร้างบ้านเรือนประทานให้แก่ชีวกโกมารภัจจ์ โดยแยกออกเป็นสัดส่วนต่างหาก
มีครั้งหนึ่งพระเจ้าพิมพิสาร มคธินทราธิราช ได้ทรงประชวรด้วยโรคริดสีดวงทวารหนักถึงขนาดพระภูษาเปื้อนเปรอะไปด้วยโลหิตสด ๆ เมื่อพระอภัยราชกุมารเข้าเฝ้า พระเจ้าพิมพิสารมีพระบัญชาให้เรียกแพทย์หลวงมาเยียวยารักษา พระเจ้าอภัยทูลว่า ”เกล้ากระหม่อมมีนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งคือ ชีวกโกมารภัจจ์ มีความรู้ทางแพทย์ดีมากถ้าทรงพระกรุณาโปรดเกล้าจะได้นำมารักษา”
พระเจ้าพิมพิสารทรงบัญชาอนุญาต พระอภัยราชกุมาร จึงนำบุตรบุญธรรมที่ชุบเลี้ยงมาแต่แบเบาะ เข้าเฝ้าเพื่อตรวจพระอาการ หมอชีวก ฯ ตรวจดูอาการของโรค ก็วางยาด้วยว่านยาชนิดหนึ่ง เข้าเครื่องยากับสมุนไพรอีกชนิดหนึ่ง ป้ายที่ปากแผล เพียงครั้งเดียว อาการประชวรด้วยโรคทรมานก็หายเป็นปลิดทิ้ง พระวรกายเป็นปกติ เป็นที่สบพระราชหฤทัยของพระเจ้าพิมพิสารเป็นอันมาก ทรงทึ่งในคุณภาพแห่งยาและกรรมวิธีการรักษาของหมอชีวกโกมารภัจจ์พระราชนัดดาบุญธรรม เป็นอันมาก
หลังจากนั้น ได้พระราชทานรางวัลด้วยทรัพย์สินอันได้แก่ เครื่องมหัคฆภัณฑ์เพชรนิลจินดา ข้าทาส ชายหญิงอีก 500 คน พร้อมกับพระราชทานวาจาแก่ชีวกหนุ่มว่า ”ต่อไปนี้จงเป็นแพทย์ประจำราชสำนักเถิด เครื่องมหัคฆภัณฑ์กองนี้ พร้อมทั้งทาสชายหญิงเหล่านี้เรามอบให้เป็นสมบัติของเธอเป็นการตอบแทนบุญคุณของเธอที่รักษาโรคในตัวเราหาย”
แต่หมอชีวกหนุ่มปฏิเสธไม่รับพระราชทาน เพราะเห็นเกินสมควรแก่ฐานะเกินวาสนาของตน จึงทูลถวายคืนพร้อมกับทูลว่า ”ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานทรัพย์สินและคนเหล่านี้แก่ข้าพระพุทธเจ้านั้น ก็เป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นหาที่เปรียบมิได้ แต่ข้าพระพุทธเจ้าเล็งเห็นว่าไม่เหมาะสมกับภาวะของข้าพระพุทธเจ้าใช่จะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอันใดไม่ จึงขอน้อมเกล้าถวายทรัพย์สินและคนเหล่านี้คืนแด่ฝ่าละออง”
พระเจ้าพิมพิสาร ทรงพอพระทัยในน้ำใจของหมอหนุ่มเป็นอันมาก ทรงโปรดแต่งตั้งให้มีตำแหน่งเป็นเอกอัครมหาอำมาตย์ เรียกตามภาษามคธว่า “เอโกอัคคมหามัจโจ ชีโว โกมาภัตติโก” แพทย์ประจำพระราชสำนักกรุงราชคฤห์แต่นั้นมา พร้อมกับพระราชทานเงินเดือนประจำและมอบคฤหาสน์บ้านเรือน เครื่องใช้ไม้สอย คนรับใช้ชายหญิง พร้อมด้วยอุทยานอัมพวัน (สวนป่ามะม่วง) ซึ่งเป็นที่ดินหลวงที่มีส่วยถึงปีละ 1 แสนกหาปณะ ชื่อเสียงเกียรติคุณของหมอหนุ่มขณะนั้นแผ่ขยายขจรขจายไปในหมู่ผู้คนทั่วกรุงราชคฤห์
ครั้งต่อมา ก็ยังมีเศรษฐีคนหนึ่งป่วยเป็นโรคปวดศรีษะมานานถึง 7 ปีเช่นกัน ได้รับการรักษาจากหมอทุกประเภทแล้วก็ไม่หายมีแต่อาการจะทุกข์ทรมานยิ่งขึ้น เศรษฐีเกิดความท้อแท้ระอากับชีวิตเต็มที โดยเฉพาะยิ่งมาได้ยินหมอคนล่าสุดคาดหมายว่าจะต้องตายภายใน 5 วันบ้าง 7 วันบ้าง เศรษฐีก็ยิ่งอยากจะกระโดดน้ำตาย ความเรื่องนี้ล่วงรู้ถึงพระเจ้าพิมพิสาร จึงทรงมีบัญชาให้หมอชีวก ฯ ไปตรวจดูอาการ
หมอชีวก ฯ ไปตามพระราชบัญชาที่บ้านเศรษฐี ตรวจดูอาการป่วยพบว่าในสมองของเศรษฐีคนนั้นมีสัตว์ตัวเล็ก ๆ ชอนไชกินสมองในกะโหลกอยู่ต้องทำการผ่าตัดเอาสัตว์ตัวนี้ออก ดังนั้นหมอชีวกจึงกล่าวกับเศรษฐีว่า ”ผมจะมารักษาโรคของท่านโดยพระบรมราชโองการตรัสใช้ หากผมรักษาโรคของท่านหายท่านจะให้อะไรกับผม อยากทราบก่อนที่จะลงมือ” เศรษฐีตอบว่า ”ถ้าหายจริงแล้ว ผมจะยกทรัพย์สมบัติส่วนตัวของผมให้ท่าน พร้อมด้วยบุตรภริยา ข้าทาสชายหญิงก็จะยอมเป็นข้าทาสรับใช้ท่านตลอดไป”
ชีวกหนุ่มได้ฟังก็ยิ้ม ถามเศรษฐีว่า ”เอาละเรื่องนั้นเอาไว้ทีหลัง แต่การรักษาครั้งนี้ท่านจะต้องนอนตะแคงขวาเป็นเวลา 7 เดือน แล้วก็นอนตะแคงซ้ายเป็นเวลา 7 เดือน และนอนหงายอีก 7 เดือนโดยไม่เปลี่ยนท่าจะทำได้ไหม” เศรษฐีผู้นั้นพยักหน้าพร้อมกับรับปาก
“ถ้าอย่างนั้นผมตกลงรักษา” หมอชีวกกล่าวพร้อมกับจัดให้เศรษฐีนอนในท่าเตรียมการผ่าตัด ดำเนินการตามวิธีศัลยกรรมแพทย์แผนโบราณ โดยใช้มีดผ่าตัดผิวหนังที่คลุมกะโหลกศรีษะออก ใช้เครื่องมืองัดกะโหลกส่วนบนให้เปิดออกตามรอยประสาน ก็แลเห็น กิมิชาติ (ชื่อ ยาวะและโสภา สัตว์ตัวเล็ก ๆ ที่อาศัยเกาะกินในสมอง จากแพทยืศาสตร์สงเคราะห์ ประมวลศัพท์ หน้า 761 )ที่สมัยนี้เรียกว่าพยาธิ 2 ตั ว กำลังชอนไชกินเนื้อสมองอยู่ จึงเอาคีมคีบออกมาแสดงแก่คนทั้งหลายและพูดว่า” นี่พวกท่าน ดูสัตว์เล็ก ๆ 2 ตัวนี้ซิ ตัวนี้แหละที่มันจะกินมันสมองของเศรษฐีให้หมดไปภายใน 5 วัน หมดมันสมองเมื่อไหร่เศรษฐีก็ต้องตาย ”ดังนั้นหมอชีวกจึงทำลายพยาธิ 2 ตัวนั้นแล้วก็เอากะโหลกปิดตามรอยประสาน ทายาสมานแผลที่สกัดจากว่านยาสมุนไพรชนิดหนึ่งก็เป็นอันเสร็จพิธี จากนั้นก็ได้สั่งให้เศรษฐีนอนตะแคงขวา 7 วัน แล้วก็ตะแคงซ้าย 7 วันและนอนหงายอีก 7 วันแผลก็หายเป็นปกติ หายปวดหัวเป็นปลิดทิ้ง
เมื่อเศรษฐีหายป่วยเป็นปกติแล้ว วันหนึ่งหมอชีวกก็ไปหาเศรษฐีพบว่ามีร่างกายแข็งแรงดีถามว่า “ศรีษะเป็นอย่างไรหาย ปวดไหม” เศรษฐีตอบว่า “หายเป็นปกติดีแล้ว” เศรษฐีสงสัยทำไมหมอจึงให้รับปากว่าจะนอนตะแคงขวา 7 เดือน ตะแคงซ้าย 7 เดือน และนอนหงายอีก 7 เดือนจึงถามหมอชีวกว่า “ไหนท่านให้ผมตั้งสัจจะว่าจะต้องนอนถึง 21 เดือนนี่เพียง 3 สัปดาห์ก็หายแล้ว”
หมอชีวกหนุ่มหัวเราะแล้วกล่าวว่า “ถ้าไม่บอกให้เผื่อไว้อย่างนั้นที่ไหนท่านจะนอนได้ถึง 3 สัปดาห์” เศรษฐียิ้มในปัญญาของหมอ นายแพทย์หนุ่มจึงพูดถึงสัญญาค่ารักษาจากเศรษฐีว่า
“ดีแล้ว..ต่อไปนี้เราจะคบกันอีกก็ยากเต็มที ท่านจะให้อะไรแก่ผมเป็นค่ารักษา” เศรษฐียังคงยืนยันที่จะให้ทรัพย์สินลูกเมีย ข้าทาส พร้อมตัวเองเป็นทาสรับใช้หมอชีวกตลอดไปตามที่ได้พูดไว้ หมอหนุ่มยิ้มด้วยความพอใจในน้ำใจและสัจจะวาจาที่ให้ไว้ของเศรษฐีจึงรีบตอบว่า“อย่าให้มันหนักหนาถึงขนาดนั้นเลย ท่านนี่ใจถึงมากพร้อมบอกเลิกสัญญาต่างๆ ที่พูดถึงค่ารักษาจากเศรษฐี