ReadyPlanet.com
dot
dot

dot


ข่าวสารสภาการแพทย์แผนไทย
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์
ประชาสัมพันธ์ รู้ทันเรื่องมะเร็ง กับคู่มือวิชาการโรคมะเร็งและผลงานวิชาการ ศูนย์มะเร็งลพบุรี
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
เที่ยวจังหวัดลพบุรี  "เที่ยวเมืองไทย ใกล้กรุงเทพ"
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
helthbe1st.comเฮลธ์บีเฟิร์สท ,จำหน่ายยาแผนปัจจุบัน ,ยาฆ่าพยาธิ,สมุนไพร,ฟ้าทะลายโจร,มะระขี้นก,เพชรสังฆาต,มะรุม,กวาวเครือแดง,กวาวเครือขาว,เห็ดหลินจือแคปซูล,การ์ซีเนีย,เถาเอ็นอ่อน,อาหารเสริม ของMEGA,โอกามิกซ์,หรือวิตามินซีวิสทร้าอะเซโรลาเชอรี


คุณค่าน่าพิศวงและประโยชน์มากมายของตำลึง article

    คุณค่าน่าพิศวงของตำลึงและประโยชน์มากมายของตำลึง
    ตำลึงตัวเมีย, ผักแคบ (เหนื่อ), สีบาท, แคเต๊าะ (กระเหรี่ยง)  Coccinnia grandis Voigt.CUCURBITACEAE
ตำลึงตัวเมีย เป็นไม้เถาขนาดกลาง มือเกาะเดี่ยวใบใบเดี่ยวรูปหัวใจเว้าเล็กน้อย สีเขียวเข้ม ดอกเดี่ยว สีขาวผลกลมเหมื่อนแตงกวา แต่เล็กกว่ามาก สีเขียวลายขาว เมื่อสุก สีแดงแสด ปลูกเป็นผักขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
    ตำลึงตัวผู้   Solena heterophylla lour.  CUCURBITACEAE  ตำลึงตัวผู้ เป็นไม้เถาขนาดเล็ก มีหัวใต้ดินหลายหัว มือเกาะเดี่ยวใบเดี่ยวขอบจักเว้ากว่าตำลึงตัวเมียมาก เป็น3 แฉก เรียวบอบบางผิวเรียบมัน สีเขียวเข้ม ดอกสีขาว ผลกลมเรียวยาว สีเขียวเข้ม ดอกเดี่ยว สีขาว ผลเรียวกลมรียาว๓-๕ ซม. สุกแดงมีลายสีเหลือง ตำลึงตัวผู้  มีหลายพันธุ์ บางชนิดใบรูปเหลี่ยมไม่เว้า หัวรสเย็น ดับพิษทั้งปวง  ระบายท้อง   
    คนไทยใช้ยอดและใบตำลึงกินเป็นผักสด อาจนำไปต้มหรือลวกจิ้มกับน้ำพริก ใช้ปรุงในแกงต่างๆ เช่น แกงจืดแกงเลียง ต้มเลือดหมู ก๋วยเตี๋ยวหมูตำลึง นำไปผัดตำลึงไฟแดง หรือใส่ในไข่เจียวผลอ่อนของตำลึงกินกับน้ำพริกคล้ายแตงกวา หรือดองกินคล้ายแตงดองได้ เนื้อในผลสุกของตำลึงมีรสอมหวาน กินได้ อุดมด้วยสารกลุ่มแอนโทไซยานินที่ต้านอนุมูลอิสระและดูแลผนังหลอดเลือดให้อ่อนนิ่มใช้งานได้ยืนยาว ใบตำลึงเป็นอาหารที่มีบีตาแคโรทีนสูงมาก
    ตำลึงเป็นยาเย็น ดับพิษร้อนแก้พิษคันจากใบไม้คันหรือหนอนคัน โดยนำใบตำลึงสดสัก ๔-๕ ใบ มาขยี้ เอาน้ำชโลมหรือทาบริเวณที่คันเป็นเริม งูสวัด ให้ใช้ใบตำลึงล้างน้ำต้มสุกให้สะอาด ตำให้ละเอียด คั้นแล้วกรองเอาแต่น้ำผสมดินสอพอง สะตุ (เผาจนสุก) ทาผิวบริเวณที่เป็นให้เปียกชื้นอยู่เสมอ อาการแสบร้อนจะทุเลาลง ถ้าทาแล้วไม่รู้สึกเย็น ก็แปลว่ายไม่ถูกโรคให้เลิกใช้ ใบและน้ำคั้นใบมีเอนไซม์อะไมเลส ช่วยย่อยอาหารจำพวกแป้งและกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ยอด เถา ใบ และราก ตำคั้นน้ำดื่มแก้หลอดลมอักเสบลิ้นเจ็บ ลิ้นเป็นแผล ให้เคี้ยวผลตำลึงอ่อน
   ในชนบทเราจะเห็น ชาวบ้านที่เลี้ยงไก่พื้นบ้าน จะเอาก้านตำลึงมาใช้เป่าเขี่ยพยาธิออกจากลูกตาไก่พื้นบ้านที่เลี้ยงเอาไว้ ในเวลากลางคืน ซึ่งคนเมืองอย่างเรา ๆท่าน ๆ จะไม่มีโอกาสน้อยที่จะได้พบเห็น เว้นเสียแต่จะอยู่ในพื้นที่ในต่างจังหวัดของไทย 
    การดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้านของไทยเชื่อว่า การกินตำลึงจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน โดยให้เอายอดตำลึงประมาณครึ่งกำมือ โรยเกลือสักลำหัตถ พอให้มีรส ห่อใบตองนำไปทำให้สุก กินก่อนนอนติดต่อกันประมาณ ๓ เดือน กล่าวว่าน้ำตาลในเลือดก็จะลดลง   
    องค์การอาหารและสิ่งแวดล้อมเพื่อชนกลุ่มน้อยระบุว่า ตำลึงเป็นพืชที่มีบีตาแคโรทีนที่ดีที่สุดสำหรับชาวไทยภูเขา บีตาแคโรทีนเป็นสารกลุ่มคาโรทีนอยด์ทำหน้าที่กรองแสงให้กับดวงตาป้องกันไฟเบอร์ของเลนส์ตาจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการถูกออกซิไดซ์ด้วยแสง ป้องกันการเกิดต้อบีตาแคโรทีนเป็นสารที่เปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ จัดเป็นสารกลุ่มคาโรทีนอยด์ที่มีประสิทธิภาพการทำงานดีที่สุด
    ดังนั้น ที่กล่าวกันว่า "ตำลึงบำรุงสายตา" ก็เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง  นอกจากนี้ บีตาแคโรทีนเป็นสารต้านออกซิเดชันลดความเสียหายจากอนุมูลอิสระในร่างกาย ยับยั้งการทำลายของออกซิเจนเดี่ยวและอนุมูลเปอรอกซิลอิสระ เชื่อว่าเป็นสารต้านมะเร็ง โดยเสริมประสิทธิภาพของเซลล์นักฆ่า (natural killer cell) ในการกำจัด เซลล์มะเร็ง กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่ซ่อมแซมสารพันธุกรรมได้  ใยอาหารจากตำลึงสามารถดูดจับสารพิษในระบบทางเดินอาหารได้ดีกว่าผักที่มีในท้องตลาดทั่วไป พบว่าการกินตำลึงจะสามารถลดอัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งในระบบทางเดินอาหารได้ 
   อนึ่ง ถ้าท่านเป็นสิวหรือผื่นแพ้ที่ผิวหน้า หรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย  สามารถใช้ใบตำลึงพร้อมก้านล้างทำความสอาดให้ดี จากนั้นใช้มือขยี้ให้เป็นน้ำ ในฝ่ามือแล้วทาให้ทั่วผิวหน้า (ใช้ทาให้ทั้วหรือพอก แต่ห้ามขัด ถูหรือเช็ด แรง ๆ เพราะจะทำให้ ผิวหนังอักเสบได้)  จากนั้น  ทิ้งให้พอหมาดแล้วเอาน้ำมันมะพร้าวหรือสครับมะพร้าว หรือบอดีโลชั่นมะพร้าวทาทับแล้ว       ทำงานบ้านซัก 15นาทีหรือนานกว่านั้นเท่าไรก็ได้    แล้วท่านจะพบว่าอาการผื่นแพ้ที่หายยากเย็นหรือเป็นมานานหลายปี จนอ่อนใจ หมดเงินรักษาไม่รู้เท่าไร ก็จะหายได้ง่าย ใน 1-  2 สัปดาห์  แถมผิวหน้าที่เคยเป็นผื่นแพ้ซ้ำซากมา  5 - 6 ปี ก็หายได้อย่างง่ายดายและผิวหน้าดูหน้าเด็งดีอย่างไม่น่าเชื่อ    แถมยังทำให้ผิวหน้าเต่งตึง อีกต่างหาก โดยไม่ต้องใช้ยาแพง ๆ หรือเสียเงินรักษามากมาย เมื่อทาผิวบริเวณที่เป็น อาการแสบร้อนจะทุเลาลง ถ้าทาแล้วไม่รู้สึกเย็น ก็แปลว่าไม่ถูกโรคให้เลิกใช้
   ตำลึงกับการดูแลโรคเบาหวาน อินซูลินเป็นสารสร้างโดยเซลล์พิเศษในตับอ่อน ที่เรียก บีตาเซลล์ อินซูลินมีหน้าที่รักษาระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด บทบาทหลักของอินซูลินคือ การควบคุมความคงที่และความสมดุลของพลังงานในเลือด เพื่อควบคุมเมตาบอลิสมของร่างกาย โรคเบาหวานแสดงออกโดยการมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงขึ้น เกิดจากการที่ร่างกายสร้างอินซูลิน ไม่เพียงพอ หรือการดื้อต่ออินซูลิน เบาหวานชนิดที่ ๑ เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เนื่องจากบีตาเซลล์ถูกทำลาย ส่วนเบาหวานชนิดที่ ๒ เกิดจากความไวของผนังเซลล์ต่ออินซูลินลดลง  ทำให้เกิดการผิดปกติของการลำเลียงน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์ ส่วนใหญ่พบในผู้มีอายุสูงกว่า ๔๐ปี และเกินกว่าร้อยละ ๙๐ ของผู้ป่วยกลุ่มนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นโรคอ้วน โรคอ้วนเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดการดื้อต่ออินซูลิน การที่ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงถึงระดับที่เป็นโรคเบาหวานจะมีผลกระทบต่อการรักษาระดับไขมันในเลือด
    ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ ๑ เกิดภาวะเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและโครงสร้างของหลอดเลือดเล็ก มีผลต่อดวงตา ไตและระบบประสาท
    ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ ๒ มักพบการเพิ่มปริมาณกรดไขมันอิสระ ทำให้มีไตรกลีเซอไรด์ชนิด LDL ในเลือด เพิ่มขึ้นและมีไขมันชนิด HDL ลดลง มีผลต่อหลอดเลือดขนาดใหญ่ นำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตายและหลอดเลือดสมองแตกได้

ถามว่า       : มีข้อมูลในเชิงวิทยาศาสตร์การแพทย์สนับสนุนคำแนะนำนี้บ้างไหม
คำตอบ คือ : มีการทดลองในต่างประเทศ      
    
    ตำลึงกับโรคเบาหวานในสัตว์ทดลอง งานวิจัยในสัตว์ทดลองที่ประเทศอินเดีย พบว่า สารสกัดน้ำ สารสกัดแอลกอฮอล์ และผงแห้งบดของใบและเถาตำลึง แสดงฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของหนูปกติ หนูที่อดอาหาร และหนูที่เป็นเบาหวานเนื่องจากได้รับสารstreptozotocin (STZ)  เมื่อหนูที่เป็นเบาหวานดังกล่าวได้รับสารสกัดเอทานอลใบตำลึง ๒๐๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมติดต่อกัน ๔๕ วัน พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลงระดับอินซูลินเพิ่มขึ้น เพิ่มการออกซิเดชันของกลูโคสในตับและเม็ดเลือดแดง ลดกลูโคนีโอเจเนซิสระดับไขมันและกรดไขมันในเลือดลดลง มีปริมาณวิตามินซีในพลาสมาเพิ่มขึ้น มีปริมาณเอนไซม์กำจัดสารพิษเพิ่มขึ้นทั้งกลูตาไทโอนเปอร์ออกซิเดส และกลูตาไทโอน เอส ทรานสเฟอเรส งานวิจัยชิ้นอื่น พบว่า ผงแห้งบดของใบและเถาตำลึงแสดงฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ทั้งในสุนัขปกติและสุนัขเบาหวาน  สารสกัดน้ำและแอลกอฮอล์ของรากตำลึง แสดงฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดในกระต่ายปกติสารสกัดแอลกอฮอล์ที่ ๒๕๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัม แสดงฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดในหนูที่อดอาหาร นอกจากนี้ สารเพ็กทิน จากผลตำลึงที่ ๒๐๐ มิลลิกรัมต่อ ๑๐๐ กรัมในหนู ปกติแสดงฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด เพิ่มการทำงานของเอนไซม์ ไกลโคเจนซินทีเตส และเพิ่มปริมาณไกลโคเจนในตับ
     ตำลึงกับโรคเบาหวานในมนุษย์ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ทีมผู้วิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ทำการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับพืชอาหารและสมุนไพรที่ใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด พบว่าตำลึง และโสมอเมริกันเป็นพืชที่มีข้อมูลสนับสนุนประสิทธิภาพด้านนี้ดีที่สุด การทดลองทางคลินิก (แบบ double-blind ขนานกัน ๒ กลุ่ม) ในประเทศบังกลาเทศพบว่า เมื่อให้ผงแช่แข็งแห้งของใบตำลึงวันละ ๑.๘ กรัมกับผู้ป่วยเบาหวาน ชนิด ๒ นาน ๖ เดือนประกอบกับการควบคุมอาหาร พบว่า ค่าน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (fasting plasma glucose) ของกลุ่มผู้ป่วยลดลง จาก๑๗๘.๘เป็น ๑๒๒.๑ และค่าน้ำตาลในเลือดแบบสุ่ม (random plasma glucose) จาก ๒๔๕.๔ เป็น ๑๘๖.๙โดยกลุ่มควบคุมไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเช่นนี้ ส่วนการศึกษาในอินเดียจากสารสกัดน้ำของใบตำลึงให้ผลในทิศทางเดียวกันกับผลจากบังกลาเทศ  และพบว่าปริมาณโคเลสเตอรอล ฟอสโฟไลปิด ไตรกลีเซอไรด์ และกรดไขมันอิสระในเลือดอย่างมีนัยสำคัญ
    สรรพคุณมากมายเกี่ยวกับตำลึง ตำลึงเป็นยาเย็น ดับพิษร้อน แก้พิษคันจากใบไม้คันหรือหนอนคัน โดยนำใบตำลึงสดสัก ๔-๕ ใบ มาขยี้ เอาน้ำชโลมหรือทาบริเวณที่คันเป็นเริม งูสวัด ให้ใช้ใบตำลึงล้างน้ำต้มสุกให้สะอาดตำให้ละเอียด คั้นแล้วกรองเอาแต่น้ำผสมดินสอพอง สะตุ (เผาจนสุก) ทาผิวบริเวณที่เป็นให้เปียกชื้นอยู่เสมออาการแสบร้อนจะทุเลาลง ถ้าทาแล้วไม่รู้สึกเย็น ก็แปลว่าไม่ถูกโรคให้เลิกใช้ใบและตำลึงส่วนใบมีเอนไซม์อะไมเลส ช่วยย่อยอาหารจำพวกแป้งและกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้

    สรรพคุณของตำลึง

ใบ                      :ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้ตัวร้อน ดับพิษฝี ถอนพิษตำแย แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้คัน
ดอก                    :แก้คัน
เมล็ด                   : ตำผสมน้ำมันมะพร้าวแก้หิด
เถา                     :ใช้น้ำจากเถาหยอดตา แก้ตาฟาง ตาแดง ตาช้ำ ตาแฉะ พิษอักเสบในตา ดับพิษ แก้อักเสบ ชงกับน้ำดื่มแก้วิงเวียนศีรษะ  รักษาโรคเบาหวาน
ราก                     : ดับพิษทั้งปวง แก้ตาฝ้า ลดไข้ แก้อาเจียน
หัว                      :  รสเย็น  ดับพิษทั้งปวง  ระบายท้อง
  
   ขนาดและวิธีใช้

รักษาโรคเบาหวาน :ใช้เถาแก่ๆ ประมาณ ๑ กำมือ ต้มกับน้ำ หรือน้ำคั้นจากผลดิบ ดื่มวันละ ๒ครั้ง เช้า-เย็น จะสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้
ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ  : ควรรับประทานสด ๆ เพราะเอนไซม์ในตำลึงจะย่อยสลายง่ายเมื่อโดนความร้อน
ลดอาการคัน         : อาการอักเสบเนื่องจากแมลงกัดต่อยและพืชมีพิษ นำใบตำลึงสด ๒-๒๐ ใบ ตำให้ละเอียดหรือขยำผสมกับน้ำ คั้นเอาน้ำ ทาบริเวณที่เป็นจนกว่าจะหาย (ใช้ได้ดี สำหรับมดคันไฟหรือใบตำแย)
แผลอักเสบ           :ใช้ใบ เถาหรือรากสด ตำพอกบริเวณที่เป็น เช่นแผล ฝีอักเสบ สิวอักเสบตามลำตัวและบนใบหน้า
แก้งูสวัด, เริม        :ใช้ใบสด ๒ กำมือ ล้างให้สะอาด ผสมพิมเสนหรือดินสอพอง ๑ ใน ๔ส่วน พอกหรือทาบริเวณที่เกิดอาการ
แก้ตาช้ำตาแดง      : ตัดเถาตำลึงเป็นท่อนยาวประมาณ ๒ นิ้วนำมาคลึงพอช้ำ แล้วเป่า จะเกิดฟองใช้หยอดตา
ทำให้ใบหน้าเต่งตึง : นำยอดตำลึง ๑/๒ ถ้วย น้ำผึ้งแท้๑/๒ถ้วย นำมาผสม ปั่นให้ละเอียด พอกหน้า ทิ้งไว้ ๒๐นาที แล้วล้างออก ทำทุกวันได้จะดีมาก
แก้ผิดสำแดง         : เอาเถาตำลึง ตัดเป็นท่อน ๆ ละ ๑ คืบ จำนวน ๓-๔ท่อน ใส่หม้อดินสุมไฟด้วยฟาง จนไหม้เป็นขี้เถ้า บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำซาวข้าว ดื่มครั้งละ ๑ ถ้วยชา มีสรรพคุณ แก้ผิดสำแดง เพราะกินของแสลงได้ดี
แก้ผิวหนังผื่นคัน     : ใช้ใบตำลึงตำแล้วทาใบหน้า ตามตัว หรือใช้ใบไพล ตำแล้วทาก็ได้ แต่ควรระมัดระวังห้ามทา ถู ขัด หรือเช็ดแรง ๆ เพราะอาจทำให้บริเวณผิวหนังที่อักเสบอยู่แล้วเกิดการอักเสบเพิ่มมากขึ้นได้
ยากำจัดกลิ่นเต่า     : ใช้ต้นตำลึง ทั้งเถาและใบ ตำผสมปูนแดง พอควรทาที่รักแร้
ยารักษาตาไก่        :ไก่ที่ถูกยุงกัดตาจนบวม เป็นพยาธิจนตาปิด มีหนองขาวและแข็งภายในเยื่อของเปลือกตาตาปิดสนิท พลิกเอาหนองขาวแข็งออกจากตาไก่ จากนั้นเอาเถาตำลึงแก่ๆ ขนาด นิ้วก้อย มาตัดเป็นท่อนๆ เอาข้อทิ้ง แล้วใช้ปากเป่าด้านหนึ่ง ฟองภายในเถาตำลึงจะออกมาอีกด้านหนึ่ง เอามือเปิดเปลือกตาไก่ออก และเอาฟองจากเถา ตำลึงหยอดตาไก่ วันละครั้ง ตาไก่จะหายสนิท(ควรทำในเวลากลางคืนจะจับตัวไก่ได้ง่าย)

หมายเหตุ             :ข้อควรระวัง ตำลึงเป็นยาเย็น ถ้าทาน้ำตำลึงที่ผิวหน้าและผิวกายแล้วไม่รู้สึกเย็น ก็แปลว่าไม่ถูกโรคให้หยุดใช้ทันที 
                         :ข้อควรระวัง ห้ามถูหรือเช็ดแรง ๆ บริเวณที่ ผิวหนังที่หรือผิวหน้าหรือผิวส่วนที่บอบบาง ขณะทาน้ำตำลึง เพราะอาจทำให้ผิวหนังที่อักเสบอยู่แล้วเกิดการอักเสบเพิ่มมากขึ้นได้

การทำน้ำตำลึง  น้ำสมุนไพรไกล้มือ
 ส่วนผสม
ใบตำลึง               :  ๑๐ กรัม(หั่น ๑๐ช้อนโต๊ะ)
น้ำผึ่ง                   :  ๓๐ กรัม( ๒ช้อนโต๊ะ)  หรือใช้น้ำเชื่อมก็ได้
น้ำมะนาว             :  ๒๐ กรัม( ๒ ช้อนชา )
น้ำเปล่าต้มสุก     :  ๒๐๐กรัม( ๑๔ ช้อนโต๊ะ)
เกลือป่นผสมไอโอดีน : ๔กรัม(๑/๕ ช้อนโต๊ะ)
 
 วิธีทำ
นำใบตำลึงมาล้างให้สะอาดแล้วหั่นใส่เครื่องปั่น ใส่น้ำต้มครึ่งหนึ่ง(7 ช้อนคาว) ปั่นให้ละเอียด นำไปกรอง ใส่
น้ำที่เหลือคั้นเอาแต่น้ำ นำน้ำที่ได้ไปใส่เกลือ น้ำมะนาว น้ำเชื่อม ชิมรสตามชอบ
ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ
คุณค่าทางอาหาร : ให้วิตามินเอสูงมาก ซึ่งช่วยบำรุงสายตา มีแคลเซี่ยม และฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและวิตามินซี ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน
คุณค่าทางยา      : นำใบมาตำให้ละเอียด แก้อาการแพ้ อาการอักเสบ แมลงกัดต่อย ช่วยป้องกันโลหิตจาง โรคมะเร็งและหัวใจขาดเลือด

เรียบเรียงโดย      : อรรณพ  ผลบุณยรักษ์
ข้อมูลอ้างอิง        : สารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย โดยวุฒิ วุฒิธรรมเวช พิมพ์ครั้งที่ ๑, ๒๑   สิงหาคม ๒๕๔๐ จากFile Name    : ๓๓๐-๐๐๓ นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่ม : ๓๓๐เดือน-ปี :๑๐/๒๕๔๐คอลัมน์ :บทความพิเศษนักเขียนหมอชาวบ้าน : รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ Sun, ๐๑/๑๐/๒๕๔๐- ๐๐:๐๐ — Fon
                        : จากสารศิลปยาไทย ฉบับที่ ๖๘ สมาคมผู้ประกอบโรคศิลปแผนไทย เชียงใหม่

 

 

 




ข่าวประชาสัมพันธ์เครือข่ายแพทย์แผนไทยจังหวัดลพบุรี

สถาบันหรือสถานพยาบาล ทีสภาการแพทยแผนไทยรับรอง
"ทำไมผู้ที่คิดจะเปิดร้านนวดไทยเพื่อสุขภาพจึงต้องเรียนหลักสูตร ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย(นวดไทย) 372 ชั่วโมง "
มารู้จัก โรงเรียนนวดแผนไทยวัดชีป่าสิตามราม ( Wat Shepasitaram Thai Traditional Massage School )
ศูนย์ศึกษาและส่งเสริมสุขภาพแพทย์แผนไทย จังหวัดลพบุรีเปิดรับสมัครนักศึกษา แพทย์แผนไทย และโรงเรียนนวดแผนไทยวัดชีป่าสิตาราม ลพบุรี article
การฝึกงานของนักศึกษาแพทย์แผนตะวันออก ม.รังสิต ที่ศูนย์ศึกษาและส่งเสริมสุขภาพแพทย์แผนไทยวัดชีป่าสิตาราม จังหวัดลพบุรี article
การเรียนนวดตอกเส้น(Tapping Line or Hammer Massage) article
รากสามสิบ ,สาวร้อยผัว , ผักชีช้าง ,ม้าสามตอน ฯ ,Shatavari,สมุนไพรพันปีของสตรี ที่ถูกลืม คุณค่าของมรดกภูมิปัญญาเหล่าบรรพชน
มฤตยู ที่มาเยือนเงียบ ๆ พยาธิใบไม้ในตับ article
ยาอายุวัฒนะ ทิพย์โอสถของบรรพชน article
ขมิ้น กับประโยชน์ล้ำค่าคู่คนไทยคู่โลก article
มะระขี้นกสูงค่าทางโภชนาการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน article
มะรุมพืชมหัศจรรย์สารพันประโยชน์ article
ความรู้เรื่องฉลากยาและร้านขายรวมทั้งการเปิดร้านขายยา ? article
นวดไทย 25 จุดเพื่อคลายเครียด article
ลมประจำเส้นสิบกับการเกิดโรคและอาการต่างๆ article
เส้นประธานสิบ article
กายบริหารเเบบไทย ท่าฤาษีดัดตน เเละประโยชน์ article
ลักษณะการนวดแผนไทย
ประวัติการนวดแผนโบราณ article
ประวัติบรมครูชีวกโกมารภัจจ์ article
ขิงมหาโอสถอันเก่าแก่ที่คนไทยและคนเอเชียโบราณรู้จักดี
หญ้าดอกขาวสมุนไพรมากคุณค่า
น้ำส้มสายชูผสมกับน้ำผึ้ง ประโยชน์มากมาย สำหรับสุขภาพ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

healthbe1st.com
Visitbhesaj , Bonmueng Road ,Thahin ,Aumphurmueng
Lopburi ,15000 ,Thailand
Tel. 08-1627-9986 , โทรสาร.03-668-1504
Email: annoppb@gmail.com
Website; http://www.healthbe1st.com