หญ้าดอกขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vernonia cinerea Less .ชื่อวงศ์ : Compositae มีซื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น หญ้าหมอน้อย (กรุงเทพฯ) ; ต้นก้านธูป (จันทบุรี) ; หญ้าสามวัน (เชียงใหม่) ; เสือสามขา (ตราด); ถัวแฮะดิน ,ฝรั่งโคก (เลย) ;เซียวซัวเฮา (จีน) ;หญ้าละออง (ตราด) ;เป็นไม้ล้มลุกลำต้นตั้งตรง สูง 15 – 80 เซนติเมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับกัน มีขนาดกว้างประมาณ 1 - 3 ซม. ยาวประมาณ 2 - 6 เซนติเมตร รูปวงรีแคบรูปไข่ รูปใบหอกหรือรูปแถบ ใบที่บริเวณโคนต้นขนาดใหญ่กว่าที่ปลายยอด ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบมนหรือแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย ดอกช่อกระจุกแน่น ออกรวมเป็นช่อแยกแขนง รูปคล้ายช่อเชิงหลั่น ชั้นใบประดับรูปคล้ายระฆัง 4 ชั้น ดอกสีม่วงเข็มแล้วค่อย ๆ จางลงเป็นสีขาว หลุดล่วงง่าย ผลแห้งมีเมล็ดเดี่ยว รูปทรงกระบอกแคบสีน้ำตาล ในผลมีเมล็ดเดียว เปลือกของมันแข็ง และแห้งไม่แตก มีขนาดยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร. ส่วนลำต้นมีรสจืด ดอกและรากมีรสขมเล็กน้อยการกระจายพันธุ์ทั่วไปในเมืองไทยและเอเชีย การขยายพันธุ์ แพร่พันธ์เองทางธรรมชาติหรือด้วยการเพาะเมล็ด
จากข้อมูลของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกระบุว่า หญ้าดอกขาวนั้นถ้านำมาต้มจะมีสรรพคุณแก้ไข้ แก้ไอ แก้ดีซ่าน แก้ตับอักเสบเฉียบพลัน แก้ริดสีดวงทวาร บำรุงกำลัง แก้ท้องร่วง คั้นเอาน้ำดื่มกระตุ้นให้เจ็บท้องคลอด ขับรก ขับระดู แก้ปวดท้องท้องอืด ท้องเฟ้อ ดูดฝีหนอง ใบ รสเย็น ต้มดื่ม แก้บิด แก้หืด แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคเท้าช้าง ใช้ใบบด นำมาตำให้ละเอียดใช้พอกแผล ช่วยสมานแผล แก้ตาฟาง
สรรพคุณ
ใบ รสเย็นต้มดื่ม แก้บิด แก้หืด แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคเท้าช้าง ตำพอกสมานแผล แก้กลากเกลื่อนเรื้อนกวาง แก้ปวดศรีษะ ตำผสมน้ำนมคนเอาน้ำหยอดตาแก้ตาแดง ตาแฉะ
เมล็ด รสเฝื่อน ขับพยาธิ แก้ท้องอืดเฟ้อ พอกแก้โรคผิวหนัง กำจัดเหา นำมาป่นให้ละเอียด ใช้ชงกับน้ำร้อนกินเป็นยาขับพยาธิเส้นด้าย แก้ท้องอืดเฟ้อ ปัสสาวะขัดท้องเฟ้อ
ทั้งต้น รสเย็นขื่น ต้มดื่มลดไข้ กินแก้ไอ แก้ดีซ่าน แก้ตับอักเสบเฉียบพลัน แก้ปัสสาวะรดที่นอน แก้ร้ดสีดวงทวาร บำรุงกำลัง แก้ท้องร่วง คั้นเอาน้ำดื่มกระตุ้นให้เจ็บท้องคลอด ขับรก ขับระดู แก้ปวดท้อง ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ตำพอกแก้นมคัด นมหลง แก้บวม ดูดฝีหนองรวมถึงมีการวิจัยพบว่า ในลำต้น ใบและรากของหญ้าดอกขาวมีสาระสำคัญคือ Soduim Nirate ซึ่งมีฤทธิ์ ทำให้ประสาทรับรสบริเวณลิ้นเกิดอาการชา ทำให้ผู้ที่บริโภคเข้าไปไม่รับรู้รสชาติใดๆ ไม่รู้สึกอยากบุหรี เป็นที่มาของการนำหญ้าหมอน้อย มาเป็นสมุนไพรที่ใช้ในการช่วยลดบุหรีการสูบบุหรีและอดบุหรี ในที่สุด
เมื่อศึกษาจากผลการวิจัยเชิงทดลอง ของคณะเภสัชศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อเปรียบเที่ยบประสิทธิผลและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของการใช้ชาชงหญ้าดอกขาวในการเลิกบุหรี รวมถึงวิเคราะห์ อัตราและลักษณะอาการไม่พึงประสงค์ ในผู้ป่วยที่ชาชงหญ้าดอกโดยทำการศึกษาในผู้ป่วยนอก 68 คน ที่คลินิกเลิกบุหรี ณ สถาบันธัญญารักษ์ โดยให้ผู้ป่วยในกลุ่มศึกษา ดื่มชาชงหญ้าหมอน้อยครั้งละ 1 ซอง ต่อน้ำ 1 แก้ว ( 150 มิลลิตร) ดื่มวันป็นเวลา ละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 14 วัน ซึ่งผลการวิจัยเบื้องต้นพบว่าอัตราการเลิกบุหรีเพิ่มขึ้น เหตุผลสำคัญเพราะอาการชาที่ลิ้น
จึงไม่อยากบุหรี เหม็นกลิ่นบุหรี ในขณะที่การตรวจการทำงานของตับและไต ไม่พบความผิดปกติใด ๆ เพราะไม่มีสารตกค้าง
ปัจจุบัน จึงมีโรงพยาบาลของรัฐหลายแห่งในประเทศไทย นำสมุนไพรหญ้าดอกขาวมาใช้เพื่อการอดบุหรี ด้วยการบำบัดรักษาแบบผสมผสาน ทั้งด้านร่างกายควบคู่ไปกับจิตใจและอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ ก็พบว่าได้ผลดี
ทว่า เหนือสิ่งอื่นใด การมีจิตใจที่มุ่งมั่นและตั้งใจในการเลิกบุหรีอย่างแท้จริงนั้น เป็นแรงพลังสำคัญที่สุด เพราะว่าใจท้อ ไม่ว่าตัวช่วยจะดีเพียงใดสุดท้ายก็คงไม่สัมฤทธิผลไปได้ อย่างแน่นอน
ข้อมูลจาก
- สารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย วุฒิ วุฒิธรรมเวช พิมพ์ครั้งที่ 1 , 21 สิงหาคม 2540
-Trust Magazine by T.man ปี ที่ 1 ฉบับที่ 1 มษายน- มกราคม 2553
-